หลักเกณฑ์การจ้างนิสิตที่มีศักยภาพมาเสริมอัตรากำลังและทำงานที่มีคุณค่าต่อจุฬาฯ
ตอบสนองเป้า SDGs 8 (Chula Student Internship)
นิยาม
- นิสิต หมายถึง นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา
- ผู้ว่าจ้าง หมายถึง ส่วนงาน / หน่วยงาน ภายใต้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ต้องการจ้างงานนิสิตเพื่อช่วยงานทั้งนี้ ไม่รวมถึงหน่วยงานบริหารสินทรัพย์และรายได้
- ระยะเวลาการดำรงสถานภาพของนิสิต หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่นิสิตลงทะเบียนเรียนจนถึงวันที่นิสิตได้รับอนุมัติปริญญาแล้ว
- ระยะเวลาจ้างนิสิต หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่นิสิตเข้ามาปฏิบัติงานซึ่งกำหนดโดยผู้ว่าจ้างโดยมีวันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุด
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
- นิสิต
-
- นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา จะต้องดำรงสถานภาพนิสิตในวันที่เข้าร่วมโครงการ
- ในช่วงระยะเวลาการทำงานภายใต้โครงการนิสิตจะต้องไม่เข้าร่วมฝึกงานอุตสาหกรรม / ฝึกงานวิชาชีพ / ฝึกงาน / ปฏิบัติการ / ลาพักการศึกษา หรือถูกระงับการเรียนเนื่องจากการกระทำผิดทางวินัย
- ผู้ว่าจ้าง
- ส่วนงาน / หน่วยงาน ภายใต้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ต้องการจ้างงานนิสิตเพื่อช่วยงาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงหน่วยงานบริหารสินทรัพย์และรายได้
สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขการจ้างงาน
- นิสิตที่เข้าร่วมโครงการฯ จะไม่ถือว่าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ดังนั้น การปฏิบัติงานดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมโดยกฎหมายแรงงานสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแรงงาน
- อัตราค่าตอบแทนนิสิตช่วยงาน ให้เป็นไปตาม หมวด 5 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับนิสิต ข้อ 27 แห่งประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการกำหนดเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินประเภทต่าง พ.ศ. 2563 โดยมีอัตราการเบิกจ่าย ดังนี้
-
- นิสิตระดับปริญญาตรี ต่อคน ชั่วโมงละ 100 บาท
- นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ต่อคน ชั่วโมงละ 150 บาท
ทั้งนี้ เศษของชั่วโมงไม่ให้นำมาคำนวณค่าตอบแทน
- นิสิตที่เข้าร่วมโครงการฯ ควรทราบว่าการมีภาระงานจะไม่ถือว่าเป็นเหตุผลที่สมเหตุสมผลสำหรับการขาดเรียน งานที่ไม่สมบูรณ์ การส่งงานล่าช้า หรือผลการเรียนที่ไม่ดีในช่วงระยะเวลาการลงทะเบียนสำหรับหลักสูตรปริญญาที่กำหนด
- การสรุปวัน-เวลาปฏิบัติงาน โปรดดูที่ “แบบการบันทึกเวลาการปฏิบัติงานและการจ่ายค่าตอบแทน”
ตามเอกสารแนบท้าย - นิสิตที่เข้าร่วมโครงการฯ หากได้รับเนื้องานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลที่เป็นความลับของมหาวิทยาลัย ต้องปฏิบัติต่อข้อมูลดังกล่าวด้วยความระมัดระวัง และไม่เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวแก่ผู้ที่
ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
ข้อปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่
- ส่วนงานแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการขอร่วมโครงการการจ้างนิสิตที่มีศักยภาพมาเสริมอัตรากำลังและทำงานที่มีคุณค่าต่อจุฬาฯ ตอบสนองเป้า SDGs 8 มายังสำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ก่อนเริ่มการจ้างงานนิสิตในโครงการฯ
- เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้างงานขอให้ส่วนงาน/หน่วยงาน ที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่งแบบฟอร์ม “แบบการบันทึกเวลาการปฏิบัติงานและการจ่ายเงิน” เพื่อให้มหาวิทยาลัยดำเนินการดำเนินการเบิกค่าตอบแทนนิสิตช่วยงาน
- ขอให้ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของนิสิตบันทึกหรือตรวจสอบรายละเอียดตามแบบฟอร์ม “แบบการบันทึกเวลาการปฏิบัติงานและการจ่ายเงิน” ให้เรียบร้อย และลงลายมือชื่อในบริเวณที่กำหนดไว้ทุกจุด พร้อมทั้งแนบสำเนาบัตรนิสิต สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารกสิกรไทย
- ขอให้หัวหน้าส่วนงาน / หน่วยงาน ลงลายมือชื่อในบริเวณที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ กรณีส่วนงาน (คณะ / สถาบัน / วิทยาลัย / สำนักวิชา / สำนักงาน) อาจเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง รองคณบดี / รองผู้อำนวยการ ที่กำกับดูแลภารกิจงาน หรือกรณีสำนักงาน หรือหน่วยงานภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัยอาจเป็นผู้อำนวยการสำนักบริหาร หรือผู้อำนวยการศูนย์เป็นผู้ลงลายมือกำกับ
- ขอให้ส่วนงาน/หน่วยงาน ดำเนินการส่งเอกสารแบบฟอร์ม “แบบการบันทึกเวลาการปฏิบัติงานและการจ่ายเงิน” สำเนาบัตรนิสิต สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารกสิกรไทย ภายในวันที่ 3 ของเดือน เพื่อให้มหาวิทยาลัยดำเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนนิสิตช่วยงาน ทั้งนี้ นิสิตช่วยงานจะได้ค่าตอบแทนภายในวันที่ 15 ของเดือน หรือวันทำการถัดไป
- กรณีที่ส่วนงาน/หน่วยงาน ดำเนินการส่งเอกสารหลังจากวันที่ 3 ของเดือน จะดำเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนในรอบเดือนถัดไป
- รูปแบบของแบบการบันทึกเวลาปฏิบัติงานและการจ่ายเงิน ให้ระบุขนาดเอกสารเบิก A4 เท่านั้น กรณี
ที่จำนวนบรรทัดการลงเวลาปฏิบัติงานไม่เพียงพอในการกรอกข้อมูล ให้นิสิตกรอกข้อมูลต่อในเอกสารแผ่นใหม่ - วันที่ปฏิบัติงานของนิสิตให้เป็นไปตามระยะเวลาดำเนินการโครงการจ้างนิสิตที่มีศักยภาพมาเสริมอัตรากำลังและทำงานที่มีคุณค่าต่อจุฬาฯ ตอบสนองเป้า SDGs 8 จากปีงบประมาณนั้น ๆ
(Visited 289 times, 1 visits today)