การลา
พนักงานมหาวิทยาลัย
พนักงานมหาวิทยาลัยมีสิทธิลาดังต่อไปนี้
- ลากิจ มีสิทธิลากิจเพื่อทำกิจธุระอันจำเป็นปีหนึ่งไม่เกิน 10 วันทำการ การลาครั้งหนึ่งอย่างน้อยครึ่งวันทำการ
- ลาพักผ่อน ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปี มีสิทธิลาพักผ่อนได้ปีละไม่เกิน 10 วันทำการ สะสมวันลาพักผ่อนได้ไม่เกิน 20 วันทำการ
- ลาป่วย มีสิทธิลาป่วยปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำการ ลาป่วยติดต่อกันเกิน 3 วันทำการขี้นไปให้แนบใบรับรองแพทย์ หากลาป่วยเกินสามสิบวันทำการแต่ไม่เกิน 60 วันทำการให้ได้รับเงินเดือนร้อยละห้าสิบ เมื่อครบกำหนดหกสิบวันทำการและจำเป็นต้องลาป่วยอีกโดยไม่ได้รับเงินเดือน
- ลาเพื่อทำหมัน มีสิทธิลาทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนดและออกใบรับรอง
- ลาคลอด ลาก่อนหรือหลังคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 98 วันรวมวันหยุดระหว่างลาให้ได้รับเงินเดือน 45 วัน นับรวมวันลาเพื่อตรวจครรภ์
- ลาเพื่อดูแลบุตรและภรรยาหลังคลอด มีสิทธิลาครรภ์หนึ่งไม่เกิน 15 วันนับรวมวันลาเพื่อไปช่วยเหลือภรรยาตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร
- ลาอุปสมบท ลาเพื่อบวชชีพราหมณ์ หรือลาเพื่อประกอบพิธีฮัจจ์ พนักงานมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นชายมีสิทธิลาไม่เกินหนึ่งพรรษาและให้สิทธิลาก่อนวันเข้าพรรษาและหลังวันออกพรรษาได้รวมกันแล้วไม่เกิน 21 วัน กรณีลานอกพรรษาได้ไม่เกิน 30 วัน
- พนักงานซึ่งเป็นหญิงมีสิทธิลาบวชชีพราหมณ์เพื่อไปถือศีลและปฏิบัติธรรมได้ไม่เกิน 30 วัน
- พนักงานซึ่งเป็นชายที่นับถือศาสนาอิสลามมีสิทธิลาไปประกอบพิธีฮัจจ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบียได้ไม่เกิน 30 วัน
- ลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน เว้นแต่ กรณีมีเหตุที่ไม่อาจลาภายในกำหนดให้ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นประกอบการลา และให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนงาน
- เมื่อได้รับอนุมัติให้ลาแล้วต้องอุปสมบท บวชบีพราหมณ์ หรือเดินทางไปประกอบพิธีฮัจจ์ภายใน 10 นับแต่วันเริ่มลา และต้องรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงานภายใน 5 วันนับแต่วันลาสิขาบท ลาบวชชีพราหมณ์ หรือวันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทย และนำส่งเอกสารรับรองการอุปสมบท หรือเอกสารรับรองการบวชชีพราหมณ์ หรือสำเนาเอกสารการเดินทาง
- ลาเขารับการเตรียมพลหรือรับราชการทหาร มีสิทธิลาปีหนึ่งไม่เกิน 60 วัน พร้อมแสดงหมายเรียกต่อหัวหน้าส่วนงานล่วงหน้าทันที่ที่ได้รับหมายเรียก
- ลาไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยว่าด้วยการนั้น
- ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยว่าด้วยการนั้น
ข้าราชการ
ข้าราชการมีสิทธิลาดังต่อไปนี้
- การลาป่วย ปีหนึ่งไม่เกิน 60 วันทำการ (ป่วยจำเป็นได้อีก 60 วันทำการ) รวม 120 วันทำการ
- การลาคลอดบุตร จำนวนเก้าสิบวัน โดยได้รับเงินเดือนระหว่างลา
- การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร มีสิทธิลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 15 วันทำการ
- การลากิจส่วนตัว ปีหนึ่งไม่เกิน 45 วันทำการ และลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้สิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรไม่เกิน 150 วันทำการ
- การลาพักผ่อน มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีได้ 10 วันทำการ ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีที่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน ปฏิบัติงานไม่ครบ 10 ปี สะสมวันลาได้ 20 วันทำการ ปฏิบัติงานครบ10 ปี ขึ้นไป สะสมวันลาได้ 30 วันทำการ
- การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ไม่เกิน 120 วัน (ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน)
- การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ตามวันเวลาในหมายเรียก
- การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน ตามระยะเวลาหลักสูตร โดยได้รับเงินเดือนระหว่างลา ไม่เกิน 6 ปี (แล้วแต่กรณี)
- การลาไปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์พรก.เกี่ยวกับการสั่งให้ข้าราชการไปทำการนับเหมือนเต็มเวลาราชการ ไม่เกิน 12 เดือน
- การลาติดตามคู่สมรส ลาได้ไม่เกิน 2 ปี กรณีจำเป็นลาต่อได้อีก 2 ปี รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี ถ้าเกิน 4 ปี ให้ลาออกจากราชการ
- การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ลาได้ตามระยะเวลาหลักสูตร ไม่เกิน 12 เดือน
การลาผ่านระบบ CUERP-FIORI