EN TH
EN TH
Edit Template
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident fund)

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2549 โดยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสะสมเงินออม และเป็นหลักประกันให้กับสมาชิกยามเกษียณ  ให้กับพนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้เพิ่มเติมเงินสมทบเพื่อเป็นประโยชน์แก่พนักงานมหาวิทยาลัยทุกคนที่เข้าเป็นสมาชิกของกองทุน และในปัจจุบันกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จุฬาฯ ได้อยู่ในการดูแลการลงทุนจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน)

เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้สมาชิกกองทุน สมารถเข้ามาค้นหาหรือดูรายละเอียดของข้อมูลของกองทุนต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการ ข้อบังคับกองทุน แนวปฏิบัติ รวมทั้งแบบฟอร์มที่ใช้ดำเนินการธุรกรรมต่าง ๆ ภายในกองทุน 

ผู้มีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident fund) 

พนักงานมหาวิทยาลัย (หมวดเงินรายได้, หมวดเงินอุดหนุน) 

ตารางแสดงอัตราเงินสะสมและอัตราเงินสมทบ 

อายุงาน 

อัตราเงินสะสม 

อัตราเงินสมทบ 

น้อยกว่า 5 ปี 

ร้อยละ 3 – 15 

ร้อยละ 5 

5 ปีขึ้นไป 

ร้อยละ 5 – 15 

ร้อยละ 8 

แผนและนโยบายการลงทุน

การแสดงความจำนงขอเปลี่ยนนโยบายการลงทุน

สมาชิกฯ สามารถแสดงความจำนงขอเปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้ 4 ครั้ง / ปี (แบบยืดหยุ่น) 4 ช่องทาง ดังนี้ 

  1. เว็บไซต์ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด มหาชน ที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  2. Application : KTam Smart Trade
  3. ผ่านระบบโทรศัพท์ตอบกลับอัตโนมัติ หรือ IVP หมายเลขโทรศัพท์ 02-686-6100
  4. ผ่านโทรศัพท์มือถือระบบ SMS Teo way โดยพิมพ์ข้อความ “PVD วรรค user name วรรค password” และกดส่งข้อความมายังหมายเลข 4694100 


การแสดงความจำนงขอเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประจำปี

สมาชิกฯ ที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถทำรายการผ่านระบบบริการบุคลากรอัตโนมัติ (CUERP – Fiori) ได้ที่ https://www.cuerpapp.chula.ac.th

ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 ธันวาคม ของทุกปี (มีผลวันที่ 1 มกราคม ในปีถัดไป) 

การแจ้งสิ้นสมาชิกภาพกองทุน

การสิ้นสภาพสมาชิกกองทุน กรณีเกษียณอายุ 

  • กรณี ประสงค์จะรับเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ขอให้แนบเอกสาร ดังนี้
    • 1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    • 2) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าแรก ประเภทออมทรัพย์ ที่ระบุชื่อธนาคาร สาขาเลขที่บัญชี ที่พิมพ์ชัดเจน และชื่อเจ้าของบัญชีที่เป็นชื่อของสมาชิกเท่านั้น

  • กรณีประสงค์จะคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ขอให้แนบเอกสาร ดังนี้
    • 1) หนังสือแจ้งความประสงค์ขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    • 2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    • 3) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าแรก ประเภทออมทรัพย์ ที่ระบุชื่อธนาคาร สาขา เลขที่บัญชี ที่พิมพ์ชัดเจน และชื่อเจ้าของบัญชีที่เป็นชื่อของสมาชิกเท่านั้น
    • 4) สำเนาใบนำฝากเงินค่าธรรมเนียมขอคงเงินฯ  


การลาออกจากกองทุน กรณีลาออกจากงาน
ประสงค์จะรักษาสมาชิกภาพโดยคงเงินไว้ในกองทุน เพื่อรอโอนย้ายเข้ากองทุนใหม่ในหน่วยงานอื่น กรุณานำส่งเอกสารที่ฝ่ายสิทธิประโยชน์และการดูแลทรัพยากรมนุษย์ สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ อาคารจามจุรี 5 ชั้น 5 


การลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุน (ไม่ได้ลาออกจากงาน)
สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนได้อีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยแจ้งความประสงค์ออกจากสมาชิกกองทุน โดยส่งบันทึกข้อความ เรื่อง ขอออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร 

แบบฟอร์ม

ข้อบังคับ ประกาศ

เอกสารประกอบการประชุมสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เอกสารประกอบการประชุมสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ชื่อไฟล์รายละเอียดจำนวนดาว์นโหลดวันที่เพิ่มไฟล์Download
KTAM เทคนิคเลือกแผนการลงทุนให้เงินทำงานผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ7309-04-2025 DownloadPreview
KTB สวัสดิการสินเชื่อบุคคล Krungthai Personal Loan Welfare6209-04-2025 DownloadPreview

คำถามที่พบบ่อย

  • ได้รับเงินสมทบจากส่วนที่นายจ้างจ่ายให้ เปรียบเสมือนได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นทุกเดือน (ในอัตราตามอายุงานน้อยกว่า 5 ปี ได้รับ 5%ของเงินเดือน อายุงาน 5 ปีขึ้นไป ได้รับ 8% ของเงินเดือน) 
  • ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เงินสะสมที่หักจากเงินเดือนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้ 
  • ผลประโยชน์ที่เกิดจากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ได้รับการยกเว้นภาษี 
  • สร้างวินัยในการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ เพราะเงินสะสมจะถูกหักจากเงินเดือนในทุก ๆ เดือน
  • เมื่อลาออก, ทุพพลภาพ, เกษียณ หรือเสียชีวิต จะได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม สำหรับเงินสมทบจะได้รับตามข้อบังคับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  ซึ่งเป็นหลักประกันแก่ครอบครัวของสมาชิก  

อายุงานน้อยกว่า 5 ปี : เงินสะสม 3-15% ของเงินเดือน / เงินสมทบ 5% ของเงินเดือน 
อายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป : เงินสะสม 5-15% ของเงินเดือน / เงินสมทบ 8% ของเงินเดือน 

สมาชิกสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสะสมได้ด้วยตนเองผ่านระบบ Fiori ปีละ 1 ครั้ง  
เปิดให้เปลี่ยนแปลงในช่วงเดือนธันวาคม มีผลการเปลี่ยนแปลงวันที่ 1 มกราคมของทุกปี 

สมาชิกสามารถเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนได้ปีละ 4 ครั้ง ดำเนินการผ่าน Mobile Application ของ KTAM  

แนะนำให้ทำแบบประเมินความเสี่ยงเพื่อจะได้ทราบว่าตนเองสามารถยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับใด จากนั้นจึงเลือกแผนการลงทุนผ่าน Mobile Application ของ KTAM 

เมื่อลาออกจากกองทุนฯ โดยไม่ลาออกจากงาน สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ได้อีก 1 ครั้ง  

สมาชิกที่เกษียณอายุ สามารถยื่นเอกสารประกอบการรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกอบด้วย 1) สำเนาบัตรประชาชน และ 2) สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร  
โดยสามารถยื่นเอกสารที่สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ อาคารจามจุรี 5 ชั้น 5  
หรือทางอีเมล surivassa.d@chula.ac.th ภายในวันที่ 30 กันยายน  
เมื่อส่งเอกสารครบถ้วนเงินกองทุนฯ จะโอนเข้าบัญชีภายในปลายเดือนตุลาคม 
 
**สำหรับท่านที่มีอายุสมาชิกเกิน 5 ปี เงินกองทุนสำรองเลี้ยง (ผลประโยชน์เงินสะสม + เงินสมทบ + ผลประโยชน์เงินสมทบ) 
ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษี 

สมาชิกที่เกษียณอายุ สามารถขอคงเงินไว้ในกองทุน หรือรับเงินเป็นงวด โดยยื่นเอกสารประกอบด้วย 1) แบบฟอร์มการคงเงิน 2) สำเนาบัตรประชาชน 3) สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร และ 4) สำเนาใบนำฝากค่าธรรมเนียม 500 บาท 
 
**สำหรับท่านที่อายุสมาชิกไม่ถึง 5 ปี หรือยังไม่ประสงค์รับเงินออกจากกองทุนฯ ซึ่ง บลจ.กรุงไทยจะบริหารเงินกองทุนฯที่มีอยู่ไม่มีเงินใหม่เติมเข้าในระบบตามแผนการลงทุนของสมาชิกโดยผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นอาจมีโอกาสเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามสภาพของตลาดทุนในตลาดหลักทรัพย์ 

Copyright © 2025 Office of Human Resources Management, Chulalongkorn University. All Rights Reserved.

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เราจะใช้คุกกี้เมื่อท่านได้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยคุกกี้ที่จำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ได้ สำหรับคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อพัฒนาเว็บไซต์และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่จำเป็นคือสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ ทำให้คุณสามารถใช้งานและเรียกดูเว็บไซต์ได้ตามปกติ คุณไม่สามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ในระบบของเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ของเรา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน

บันทึกการตั้งค่า