EN TH
EN TH
Edit Template
กองทุนประกันสังคม

กองทุนประกันสังคม

กองทุนประกันสังคม (Social Security Fund)

ประกันสังคม มาตรา 33 คือ  ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป สำหรับอัตราเงินสมทบของประกันสังคม มาตรา 33 ที่ผู้ประกันตนต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน จะคำนวณจากฐานค่าจ้างต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท ทั้งนี้ รัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

  • นายจ้าง ส่งเงินสมทบในอัตรา 5% ของค่าจ้างลูกจ้าง ขั้นต่ำ 83 บาท/เดือน และสูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน 
  • ลูกจ้าง/ผู้ประกันตน ส่งเงินสมทบในอัตรา 5% ของค่าจ้าง ขั้นต่ำ 83 บาท/เดือน และสูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน 

สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 จะได้รับ สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 กรณี ดังนี้

ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์ฯ กำหนดซึ่งรวมถึงการฉีดวัคซีนตามสถานการณ์การระบาดของโรคที่กำหนดขึ้นในแต่ละปี โดยสามารถเข้ารับบริการได้ ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดสิทธิ 

เจ็บป่วยปกติ
สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามสิทธิหรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้นได้ฟรี โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ทั้งผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD) 

ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน 

กรณีเข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลรัฐ : 

  • ผู้ป่วยนอก (OPD) เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง 
  • ผู้ป่วยใน (IPD) เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ 

กรณีเข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลเอกชน : 

  • ผู้ป่วยนอก (OPD) เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,000 บาท หรือ เกิน 1,000 บาทได้ หากมีการตรวจรักษาตามรายการในประกาศของคณะกรรมการการแพทย์ 
  • ผู้ป่วยใน (IPD) กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องและค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท  
    และสำหรับกรณีที่รักษาในห้อง ICU เบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง และค่าอาหาร ได้รวมไม่เกินวันละ 4,500 บาท ผ่าตัดใหญ่ เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท  
    ค่ายา และค่าอุปกรณ์ เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และค่าเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท 
  • ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต เข้ารับบริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ 

 

ทันตกรรม

  • ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด รับค่าบริการทางการแพทย์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 900 บาท/ปี
  • ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมตามที่จ่ายจริง โดย 1-5 ซี่ จะได้รับเงินไม่เกิน 1,300 บาท และมากกว่า 5 ซี่ ขึ้นไป จะได้รับเงินไม่เกิน 1,500 บาท
  • ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก กรณีฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2,400 บาท และกรณีฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม

เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ :
ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์จึงจะได้รับสิทธิ

ผู้ประกันตนหญิง ได้รับเงินค่าคลอดบุตร 15,000 บาท ไม่จำกัดสถานพยาบาลและจำนวนครั้ง พร้อมรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน (สำหรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร สามารถเบิกได้สูงสุดไม่เกิน 2 ครั้ง)

ผู้ประกันตนชาย ซึ่งมีภรรยาที่จดทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือมีหญิงที่อยู่กินกันฉันสามีภรรยาโดยเปิดเผยและไม่มีภริยาอื่นที่จดทะเบียนสมรสรับเงินค่าคลอดบุตร 15,000 บาท 

พร้อมเบิก ค่าตรวจและฝากครรภ์ ได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 1,500 บาท

เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ :
ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร จึงจะได้รับสิทธิ และในกรณีที่ทั้งสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตน ให้เลือกใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่จำกัดจำนวนบุตรหรือครั้งในการเบิก

เงินทดแทนการขาดรายได้ 

  • ทุพพลภาพระดับเสียหายไม่รุนแรง (การสุญเสียตั้งแต่ร้อยละ 35-49) รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 30 หรือในส่วนที่ลดลง 
    แต่ไม่เกินร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 180 เดือน  
  • ทุพพลภาพระดับเสียหายรุนแรง (การสูญเสียตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป)  รับเงินทดแทนการขาดรายได้เป็นรายเดือนตลอดชีวิต ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง

ค่าบริการทางการแพทย์ 

กรณีเจ็บป่วยปกติ

  • เข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลรัฐ – ผู้ป่วยนอก(OPD) รับค่าบริการทางการแพทย์ตามที่จ่ายจริง และผู้ป่วยใน(IPD) เข้ารับบริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • เข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลเอกชน – ผู้ป่วยนอก (OPD) รับค่าบริการทางการแพทย์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท และผู้ป่วยใน (IPD) ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท


กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต
เข้ารับบริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ 

ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ กรณีเข้ารับการบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท
* กรณีผู้ทุพพลภาพเสียชีวิต จะได้รับค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีตายให้แก่ทายาท

เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ :
ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ(ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการทำงาน) จึงจะได้รับสิทธิ

จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน
รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน พร้อมรับค่าทำศพ 50,000 บาท

จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป
รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน พร้อมรับค่าทำศพ 50,000 บาท

เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ :
ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต จึงจะได้รับสิทธิ

เงินบำนาญชราภาพ  คือ เงินที่ทยอยจ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต 

  • จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนเพิ่ม 1.5% จากอัตราเดือนสุดท้าย 
  • จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน (15 ปีขึ้นไป) รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนเพิ่ม 1.5% จากอัตรา 20% ในทุก 12 เดือน


เงินบำเหน็จชราภาพ
 คือ เงินที่จ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว 

  • จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน
    • รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะในส่วนของผู้ประกันตน เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ 
  • จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป
    • รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ พร้อมผลตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด 
  • กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับตั้งแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ
    • จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิต


เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ :
ผู้ประกันตนต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต จึงจะได้รับสิทธิ

รับเงินค่าสงเคราะห์บุตรคนละ 800 บาท/เดือน โดยต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้น บุตรบุญธรรม หรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น) ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ ครั้งละไม่เกิน 3 คน

เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ :
จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน  ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน จึงจะได้รับสิทธิ 

กรณีถูกเลิกจ้าง
รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน 70% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 200 วัน 

กรณีลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง
รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน
45% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน (บังคับใช้ 1 มี.ค. 63 – 28 ก.พ. 65) 

กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
รับเงินทดแทนในช่วงว่างงาน
50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ :
ผู้ประกันตนต้องมีระยะเวลาว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไปและจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน จึงจะได้รับสิทธิ

วิธีการตรวจสอบสิทธิประกันสังคม

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.sso.go.th  กดเข้าสู่ระบบผู้ประกันตน/สมัครสมาชิก

สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยสมัครสมาชิก  :
ให้กด สมัครสมาชิก และทำตามขั้นตอนในระบบ โดยจะมีให้ยอมรับข้อตกลงกรอกข้อมูลส่วนตัว และยืนยันตัวตนด้วยเลข OTP ที่ส่งมายังเบอร์ที่เรากรอกไปสามารถเข้าสู่ระบบ เพื่อเช็คสิทธิประกันสังคมต่าง ๆ ได้

สำหรับผู้ที่เคยสมัครสมาชิกแล้ว 
ให้เข้าสู่ระบบด้วยการกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก กับรหัสผ่านที่เคยตั้งไว้ หรือกรณีลืมรหัสให้กด ลืมรหัสผ่าน แล้วกรอกเบอร์โทรศัพท์ที่เคยลงทะเบียนไว้ เพื่อรับเลข OTP กลับมายืนยันตัวตนและตั้งรหัสผ่านใหม่

2. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SSO PLUS ได้ทั้งระบบ IOS และ Android

คลิกที่ App Store และ Google Play เข้าสู่ระบบด้วยการกรอกเลขบัตรประชาชนพร้อมรหัสผ่าน โดยเช็คข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกันตนผ่านแอปพลิเคชันได้ 

การเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี

เริ่มให้เปลี่ยนตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567  ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 โดยผู้ประกันตนสามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

1. เปลี่ยนสถานพยาบาลผ่านเว็ปไซ
ต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th 
2. เปลี่ยนสถานพยาบาลผ่าน App SSO PLUS 
3. ยื่นแบบฟอร์ม สปส 9-02 พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาบัตรประจำตัวพนักงาน 

คำถามที่พบบ่อย

การรักษาที่สถานพยาบาลตามสิทธิรักษาพยาบาล หากอยู่นอกเวลา แนะนำติดต่อที่ส่วนฉุกเฉิน/อุบัติเหตุ จะไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากผู้ประกันตนเข้ารักษาที่คลินิกนอกเวลาเอง ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง 

ผู้ประกันตนต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนเกินจากที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดและไม่สามารถเบิกคืนได้ เพราะผู้ประกันตนเป็นผู้ร้องขอเอง 

ผู้ประกันตนสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามโปรมแกรมของการตรวจสุขภาพประจำปีฟรี ในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ 

สำหรับสิทธิเบิกค่าคลอดเหมาจ่าย ผู้ประกันตนสามารถเบิกสิทธิได้หากยื่นเรื่องภายในเวลา 1 ปีนับจากวันที่บุตรเกิด 

ถ้าคุณมีการจ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือนภายใน 36 เดือนอย่างต่อเนื่องก่อนหน้าที่บุตรคุณคลอด ทางประกันสังคมก็จะจ่ายนับตั้งแต่เงินสมทบครบ 12 เดือน โดยจะมีการย้อนจ่ายของเดือนเก่าให้หากคุณเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตรมาตั้งแต่ต้น 

ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง ต่อ 6 เดือนหลังจากสิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน 

กรณีผู้ประกันตนมีการทำงานหลายบริษัท และยังทำงานกับบริษัทเดิมอยู่ ให้แจ้งที่บริษัทใหม่ ในการกรอกแบบ สปส.1-03 แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน จะต้องระบุชื่อบริษัทที่ยังทำงานในช่องกรณีทำงานกับนายจ้างหลายราย เนื่องจากหากมีการแจ้งขึ้นทะเบียนโดยบริษัทใหม่และไม่มีการระบุว่าทำงานกับนายจ้างหลายราย ระบบจะแจ้งให้เป็นลาออกจากบริษัทเดิม โดยอัตโนมัติและไม่ปรากฎวันที่ลาออก 

หากลูกจ้างเข้าทำงานกับนายจ้างตอนอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ ไม่สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมได้ จึงไม่สามารถใช้สิทธิที่ไม่เนื่องจากการทำงานได้ แต่ถ้าเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานสามารถใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทนได้ 

หลังจากยื่นเรื่องแล้ว เราสามารถใช้สิทธิประกันสังคมที่โรงพยาบาลแห่งใหม่ได้ตามเงื่อนไขดังนี้ 
กรณีสำนักงานประกันสังคม รับเอกสารขอเปลี่ยนโรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 1 ถึง 15 (ก่อน 16.30 น.ของวันที่ 15) เราจะสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลแห่งใหม่ได้ในวันที่ 16 ของเดือนนั้น 
กรณีสำนักงานประกันสังคม รับเอกสารขอเปลี่ยนโรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 16 ถึงวันทำการสุดท้ายของเดือน (ก่อน 16.30 น.ของวันสุดท้ายของเดือน)  เราจะสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลแห่งใหม่ได้ในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป 

ผู้ประกันตนสามารถ เปลี่ยนสถานพยาบาลผ่านเว็ปไซต์ สำนักงานประกันสังคม ผ่าน App sso connect ผ่าน Line Official Account และดำเนินการตามขั้นตอน หรือ ยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานคร / พื้นที่ ที่สะดวก เอกสารที่จะต้องใช้แบบฟอร์มสปส.9-02 

ผู้ประกันตนสามารถ โทรสอบถามได้ที่สายด่วน 1506 หรือสำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานคร/ จังหวัด ที่สะดวก หรือ ตรวจสอบข้อมูลได้ด้วยตนเองที่เว็ปไซต์สำนักงานประกันสังคม App sso connect ได้โดยตรง 

Copyright © 2025 Office of Human Resources Management, Chulalongkorn University. All Rights Reserved.

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เราจะใช้คุกกี้เมื่อท่านได้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยคุกกี้ที่จำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ได้ สำหรับคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อพัฒนาเว็บไซต์และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่จำเป็นคือสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ ทำให้คุณสามารถใช้งานและเรียกดูเว็บไซต์ได้ตามปกติ คุณไม่สามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ในระบบของเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ของเรา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน

บันทึกการตั้งค่า