EN TH
EN TH
Edit Template
Training Roadmap

Training Roadmap

Training Roadmap

เส้นทางการพัฒนาบุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU TRAINING AND DEVELOPMENT ROADMAP) มีมิติในการพัฒนาบุคลากรใน 3 กลุ่มหลัก ดังนี้ 

  • เส้นทางการพัฒนากลุ่มผู้บริหาร 
  • เส้นทางการพัฒนากลุ่มบุคลากรสายวิชาการ 
  • เส้นทางการพัฒนากลุ่มบุคลากรสายปฏิบัติการ

โดยในแผนได้แบ่งเส้นทางการพัฒนาบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU TRAINING & DEVELOPMENT ROADMAP) ออกตามกลุ่มบุคลากรเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 

1.กลุ่มผู้บริหารสายวิชาการ

     1.1 กลุ่มผู้บริหารสายวิชาการระดับสูง ประกอบด้วย อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน  

     1.2 กลุ่มผู้บริหารสายวิชาการระดับกลาง ประกอบด้วย รองคณบดี รองผู้อำนวยการสถาบัน หัวหน้าภาควิชา 

2.กลุ่มผู้บริหารสายปฏิบัติการ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนัก/ฝ่าย/ศูนย์ และ หัวหน้างาน 

3.กลุ่มอาจารย์ และนักวิจัย  

4.กลุ่มบุคลากรสายปฏิบัติการ 

 

ด้านมิติในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล แบ่งเนื้อหาในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็น 3 ด้านหลัก ดังนี้ 

ด้านที่ 1  Onboarding Programs  เป็นมิติด้านการดูแลพัฒนาบุคลากรตั้งแต่แรกเข้า และพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เรียนรู้เข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์กร การปรับตัว รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับบุคลากรในมหาวิทยาลัย  นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงการพัฒนากลุ่มบริหารที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งด้วย 

ด้านที่ 2  Professional เป็นมิติด้านการพัฒนาบุคลากรที่มุ่งพัฒนาบุคลากรในด้านความรู้ ความสามารถทักษะ และความเชี่ยวชาญในสายวิชาชีพที่รับผิดชอบหลัก เพื่อประโยชน์และความก้าวหน้าในสายวิชาชีพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยมีการกำหนดอย่างชัดเจนและเป็นระบบในการพัฒนา โดยจำแนกตามกลุ่มวิชาการและกลุ่มปฏิบัติการ 

ด้านที่ 3  Leadership / Soft Skills เป็นมิติด้านการวางแผนและพัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นผู้นำในตนเองทั้งทางด้านการบริหารจัดการอันเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปฏิบัติงานทั้งในระดับตนเอง และปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นด้วย รวมถึงในด้านมิติต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก 

 นอกเหนือจากการพัฒนาใน 3 ด้านหลักดังกล่าวแล้ว แผนเส้นทางการพัฒนาบุคลากรยังครอบคลุมถึงการพัฒนาในด้านพื้นฐานที่บุคลากรควรได้รับ เพื่อให้หลอมรวมอยู่ในวัฒนธรรม ค่านิยม และทิศทางของมหาวิทยาลัยร่วมกัน รวมถึงการสนับสนุนการเรียนรู้ตามทฤษฎี 70-20-10 โดยฝ่ายการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้ออกแบบรายละเอียดของแผนการพัฒนาบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระยะเวลาของปีงบประมาณ 2567 – 2570 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินการ และมองเห็นภาพรวมในการพัฒนาบุคลากรที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งนี้ หัวข้อหลักสูตรที่ได้วางไว้ เป็นกรอบการวางทิศทางแนวทางไว้เบื้องต้น ในการดำเนินการปฏิบัติงานจริง โดยสามารถทบทวนปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุทธศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงขององค์กรได้ 

1. การพัฒนาบุคลากร กลุ่มบริหาร (สายวิชาการ)

แผนการพัฒนาบุคลากรกลุ่มบริหาร (สายวิชาการ) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ 

1.1. ผู้บริหารสายวิชาการ (Executive Leadership) ในระดับอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน 

1.2. ผู้บริหารสายวิชาการ (The Leader Prospect) ในระดับรองคณบดี รองผู้อำนวยการสถาบัน และหัวหน้าภาควิชา 

โดยในกลุ่ม Executive Leadership จะเริ่มการพัฒนานับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคณบดี/ผู้อำนวยการสถาบัน โดยจะจัดให้มีกิจกรรม Onboarding Program ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการดำรงตำแหน่ง มีการออกแบบกิจกรรมที่จะได้ทำความเข้าใจในยุทธศาสตร์ ทิศทางการดำเนินการขององค์กร นอกจากนี้กลุ่ม Executive Leadership จะได้รับการพัฒนาในด้านสำคัญที่เป็นเชิงกลยุทธ์การขับเคลื่อนองค์กร ในหลักสูตรต่างๆ เช่น Strategic Transformational Leadership , Building Strategic Foresight To Shape The Future รวมถึง Fostering Innovation and Creativity in Teams 

 สำหรับกลุ่ม The Leader Prospect จะต้องเข้าใจบริบทต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และทิศทางในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย Organization and Management จะมีหลักสูตร University Essentials (ด้านวิชาการ ด้านวิจัย ด้านนวัตกรรม ด้านการเงิน ด้านการบริหารงานบุคคล และ การบริหารทั่วไปของหน่วยงาน) เพื่อให้ผู้บริหารได้เข้าใจเกี่ยวกับทิศทางและเป้าหมายของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องตรงกัน นำไปสู่การวางแผน และลงมือปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ 

รวมถึงผู้บริหารในกลุ่มนี้จะได้รับพัฒนาควบคู่ไปในเรื่องของภาวะผู้นำ (Leadership) เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการขับเคลื่อนองค์กร และเตรียมความพร้อมสำหรับการก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูงต่อไป โดยมีหลักสูตรต่างๆ เช่น หลักสูตร Planning & Execution , Building Collaboration , Communication Excellence , Outward Mindset , Strategic Thinking , Cognitive Flexibility ฯลฯ 

นอกจากนี้ในการพัฒนากลุ่มบริหารสายวิชาการจะต้องให้มีการพัฒนาหลักสูตรที่เป็น Preliminary Knowledge เพื่อสร้างความเข้าใจและเดินทางร่วมกันไปในทิศทางตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัยอันได้แก่ หลักสูตรที่สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่อง เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) และ หลักสูตรสร้างความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวกับกฎหมายสำหรับผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่าง ๆ  เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) กฎหมายปกครองกับการบริหารมหาวิทยาลัย กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในบริบทในการบริหารมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึงประเด็นกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารของมหาวิทยาลัยในด้านต่างๆ ทั้งนี้นอกเหนือจากการวางกรอบเส้นทางการพัฒนานี้แล้ว กลุ่มผู้บริหาร (สายวิชาการ) ควรได้รับโอกาสที่จะได้เข้าร่วมการพัฒนาตนเองเพื่อสร้างเครือข่ายร่วมกับผู้บริหารในระดับประเทศและต่างประเทศต่อไปด้วย 

2. การพัฒนาบุคลากร กลุ่มบริหาร (สายปฏิบัติการ)

แผนการพัฒนาบุคลากรกลุ่มบริหาร (สายปฏิบัติการ)  เป็นการพัฒนาให้กับผู้บริหารที่ใช้ชื่อกลุ่มนี้ว่า Leadership Accelerator Development Program โดยประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้อำนวยการศูนย์ และหัวหน้างาน โดยการพัฒนาผู้บริหารกลุ่มนี้ ได้พิจารณาให้มีหลักสูตรแกนหลักที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้บริหารกลุ่มนี้ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 

ส่วนที่ 1 Organization and Management ประกอบด้วยหลักสูตร University Essentials / Vision Strategy , หลักสูตร Planning & Execution , หลักสูตร Teamwork & Conflict Management เพื่อให้ผู้บริหารได้เข้าใจบริบทของมหาวิทยาลัยที่สอดคล้องตรงกัน นำไปสู่การวางแผนและลงมือปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง 

ส่วนที่ 2 Leadership จะมีการพัฒนาในเรื่ององค์ประกอบของการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล และหลักการคิดต่างๆ เช่น หัวข้อในเรื่อง การสร้างความผูกพันและรักษาบุคลากร (Engaging and Retaining People) , การสื่อสารที่เป็นเลิศ (Communication Excellence) , ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) , การมอบหมายงาน (Delegating with Purpose) , การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) ฯลฯ 

ในส่วนสุดท้าย Soft Skills ประกอบด้วย Supervisory Skills ที่จะช่วยให้ผู้บริหารได้มีแนวทางในการบริหารงาน บริหารคน เพื่อสร้างผลสำเร็จให้เกิดขึ้นกับงานที่รับผิดชอบได้ เช่น การจัดการเวลา (Time Management) , การสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching & Mentoring) 

                      นอกจากการวางกรอบเส้นทางการพัฒนานี้แล้ว กลุ่มผู้บริหารสายปฏิบัติการจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับผู้บริหารทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อสร้างเครือข่าย และสร้างพันธมิตรในการเรียนรู้ รวมถึงมีทักษะในการสร้างทีมงาน ตลอดจนการได้มีโอกาสติดตามทำงานร่วมกับผู้บริหารระดับสูง ได้รับมอบหมายงานในโครงการสำคัญ เพื่อเตรียมความพร้อมและมองเห็นบุคลากรที่โดดเด่นในการจะก้าวสู่การเป็นผู้บริหารในระดับที่สูงขึ้นต่อไป 

3. การพัฒนาบุคลากร สายวิชาการ (อาจารย์ และนักวิจัย)

แผนการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ ในแผนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ 1) กลุ่มอาจารย์ และ 2) กลุ่มนักวิจัย เป็นการพัฒนาอาจารย์และนักวิจัยตั้งแต่แรกเข้าทำงานใหม่ จนถึงการพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญตามสายงานวิชาชีพ และการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมในทักษะทางด้านการบริหารจัดการ รวมทั้งทักษะทาง Soft Skills ต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มบุคลากรสายวิชาการทั้งอาจารย์ และนักวิจัย ได้มีสมรรถนะ ทักษะความสามารถที่เข้มแข็งทางด้านวิชาการ และพร้อมไปด้วยทักษะทางสังคมอื่น ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ในการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการยังรวมถึงการพัฒนาอาจารย์ชาวต่างชาติที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย 

     การพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ แบ่งเป็น 3 โปรแกรมหลัก ดังนี้ 

1. Onboarding   

     1.1 กิจกรรมแรกพบ ซึ่งจัดตั้งแต่วันแรกเข้าปฏิบัติหน้าที่ในองค์กร โดยจะช่วยเสริมสร้างให้ 

บุคลากรสายวิชาการได้เข้าใจวัฒนธรรมองค์กร ความเป็นอยู่ และพื้นฐานการปฏิบัติงานที่สำคัญ 

     1.2 โครงการปฐมนิเทศอาจารย์และนักวิจัยใหม่ เป็นโครงการที่จัดขึ้น เพื่อให้อาจารย์และนักวิจัยที่เข้าปฏิบัติงานใหม่ได้เรียนรู้เข้าใจองค์กรอย่างลึกซึ้ง และมีความเข้าใจในงานด้านวิชาการ อันประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในเรื่อง ทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย อาจารย์และนักวิจัยรุ่นใหม่กับความยั่งยืนของจุฬาฯ ความเป็นเลิศในการสอนและการพัฒนานิสิต  ความเป็นเลิศด้านวิจัยและบริการสังคม และความเป็นมืออาชีพ 

2. Professional  

     2.1 หลักสูตร New Learning เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรสายวิชาการได้เข้าใจถึงบริบทการเป็นอาจารย์ที่ทำหน้าที่สอนและส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดจนได้มีเทคนิคหรือเครื่องมือใหม่ ๆ ในการสอนด้วย โดยมีหลักสูตรที่วางไว้ เช่น Excellence Teaching , Learning Design and Delivery , Innovation Learning และให้ได้รับการเสริมเพิ่มเติมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องใหม่ ๆ เช่น Active Learning , Objective Based Leaning เป็นต้น 

     2.2 หลักสูตร Research and Innovation เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมสนับสนุนในด้านการทำงานวิจัยให้บุคลากรสายวิชาการ โดยมีหลักสูตรที่เป็น Core Course ที่บุคลากรทุกคนที่ทำงานวิจัยควรทราบทั้ง Soft Skills , Strong Foundation , Economic Impact และ Social Impact เป็นต้น รวมทั้งในส่วนเสริมของหลักสูตรนี้  

     2.3 หลักสูตร Student Advisor เป็นการพัฒนาอาจารย์เพื่อให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการดูแลและให้คำปรึกษานิสิตทั้งในหัวข้อ Fundamental Psychology Advisors ที่เป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในเชิงจิตวิทยา ต่อยอดการเรียนรู้ให้ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนและฝึกปฏิบัติร่วมกันในหัวข้อ Wellness Journey for Advisors  และได้รับการเสริมสร้างด้วยกลุ่ม COP Advisor หรือกลุ่ม Counseling เพื่อได้รับฟังแลกเปลี่ยนกรณีศึกษาร่วมกัน และได้มีแนวทางในการดูแลนิสิตอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 

3.Leadership / Soft Skills

ในด้านการพัฒนาด้าน Leadership / Soft Skills เป็นการพัฒนาที่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องโดยจะเน้นไปใน 3 ส่วนหลัก ดังนี้  

     3.1 Thinking Skills ที่จะพัฒนาทักษะทางความคิดในด้านต่างๆ เช่น การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) , การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) , การคิดเชิงสร้างสรรค์ Creative Thinking , กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) 

     3.2 People Skills จะพัฒนาทักษะในด้านการปฏิสัมพันธ์กับคน เช่น การสื่อสาร (Communication) , การเข้าใจผู้อื่น (Empathy) , การสนับสนุนความหลากหลายและยอมรับความแตกต่าง (Diversity and Inclusion)   

     3.3 Enriching Life การพัฒนาในส่วนนี้เป็นการพัฒนาที่จะได้นำหัวข้อประเด็นที่มีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องใช้ในปัจจุบันและอนาคตมาส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรได้เรียนรู้ อาจจะสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางช่องทางต่าง ๆ โดยมีเครื่องมือใหม่ ๆ ในการกระตุ้นการเรียนรู้ และสร้างให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในองค์กรที่มีความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล , การจัดการความเครียด และธรรมะเพื่อชีวิตที่ดีงาม 

      นอกเหนือจากพัฒนาในหัวข้อหลักสูตรหลัก ๆ แล้ว มหาวิทยาลัยได้พิจารณาเห็นว่ายังมีวิธีอื่น ๆ ที่สามารถส่งเสริม กระตุ้น และสร้างความผูกพันให้กับบุคลากรได้อีก เช่น  

Sustainability mindset  

  • การให้บุคลากรได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการที่เป็น Flagship องค์กร เช่น SDGs 

Communication  

  • การจัดกิจกรรมที่สร้างเครือข่ายอาจารย์และนักวิจัย Networking Program 
  • การจัด Town Hall Meeting 

Learning Reinforcement & Recognition 

  • การสร้างความรู้สึกให้พนักงานได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรผ่านการพิจารณารางวัลที่เกี่ยวข้อง เช่น รางวัลข้าราชการดีเด่น นักวิจัยดีเด่น เป็นต้น  กิจกรรมดังกล่าวข้างต้นนี้ถือเป็นการพัฒนาบุคลากรอีกมุมหนึ่ง ที่จะมีส่วนสำคัญการดูแลทรัพยากรบุคคล ให้รู้สึกถึงการมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับ ส่งเสริมขวัญและกำลังใจ มีความพร้อมที่จะเปิดรับความท้าทายและการเรียนรู้ใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานให้กับองค์กร 

4. การพัฒนาบุคลากร สายปฏิบัติการ

แนวทางของแผนการพัฒนาบุคลากรสายปฏิบัติการเป็นการพัฒนาตั้งแต่แรกเข้าทำงาน จนถึงการพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญในสายงานวิชาชีพของงานสายปฏิบัติการ และพัฒนาเพื่อเตรียมความในทักษะทางด้านการบริหารจัดการรวมทั้งทักษะทาง Soft Skills เช่นเดียวกับการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ 

การพัฒนาบุคลากรสายปฏิบัติ แบ่งเป็น 3 โปรแกรมหลัก ดังนี้ 

1.Onboarding 

     1.1กิจกรรมแรกพบ ซึ่งจัดตั้งแต่วันแรกเข้าปฏิบัติหน้าที่ในองค์กร โดยจะช่วยเสริมสร้างให้บุคลากรสายปฏิบัติการได้เรียนรู้ และเข้าใจวัฒนธรรมองค์กร ความเป็นอยู่ และพื้นฐานต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานที่สำคัญ  

     1.2โครงการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ (Chula Newcomers) เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อให้ 

ผู้ปฏิบัติงานที่เข้าปฏิบัติงานใหม่ได้เรียนรู้เข้าใจองค์กรอย่างลึกซึ้ง อันประกอบด้วยเนื้อหาหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่อง  การปลูกฝังหัวใจจุฬา  ทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21 ข้อควรรู้และพึงปฏิบัติของมหาวิทยาลัย เป็นต้น 

2. Professional  

     2.1 หลักสูตรด้าน Working Essential เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้มีความรู้ ความเข้าใจและมี 

ทักษะในการปฏิบัติงานที่มีความสำคัญและจำเป็น อันประกอบด้วย หลักสูตรด้าน Digital Skills และหลักสูตร English for Career Development นอกจากนี้บุคลากรสายปฏิบัติการควรได้รับหลักสูตรเสริมเพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หลักสูตรการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อจะได้นำไปใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 

     2.2 หลักสูตรด้าน Functional Skills เป็นการส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการฝึกฝนและพัฒนาในงานที่ตนเองรับผิดชอบเป็นหลัก เพื่อจะได้สามารถพัฒนาสมรรถนะของตนเองได้ตรงกับการการปฏิบัติหน้าที่ในการทำงาน รวมถึงยังเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเพื่อการเติบโตไปในเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ซึ่งการพัฒนาในส่วนนี้ มหาวิทยาลัยจัดให้มีกลุ่มเครือข่ายวิชาชีพ 18 เครือข่าย สำหรับบุคลากรสายปฏิบัติการ ที่จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มเครือข่ายอย่างเป็นระยะ ๆ โดยเครือข่ายวิชาชีพจะช่วยพิจารณาในเรื่องเนื้อหาของหลักสูตรที่มีเหมาะสมตรงประเด็นในสิ่งที่ต้องการพัฒนา รวมไปถึงการพิจารณาส่งบุคลากรของมหาวิทยาลัยไปเข้าร่วมอบรมภายนอก (Public Training) ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อพนักงาน หน่วยงานและมหาวิทยาลัย 

นอกเหนือจากการพัฒนาดังกล่าว ปัจจุบันมหาวิทยาลัยจะช่วยส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการฝึกฝนและพัฒนาสมรรถนะของตนเอง โดยบุคลากรและผู้บังคับบัญชาร่วมกันวางแผนและออกแบบแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) ร่วมกัน เพื่อสามารถพัฒนาสมรรถนะของตนเองได้ตรงกับการการปฏิบัติหน้าที่ในการทำงาน 

     2.3 หลักสูตร Productivity and Quality Improvement  เป็นหลักสูตรการพัฒนาที่สร้างให้บุคลากรสายปฏิบัติการได้เรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการปรับปรุงคุณภาพในการทำงาน โดยช่วยให้มีหลักการคิดและตระหนักถึงความสำคัญในการปรับปรุงงานที่ตนเองรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง เช่น หลักสูตรการคิดในแบบ PDCA , หลักสูตร Process Improvement เป็นต้น 

3.Leadership / Soft Skills 

ด้านการพัฒนาด้าน Leadership / Soft Skills เป็นการพัฒนาที่พิจารณาในหัวข้อและประเด็นการพัฒนาภาวะเพื่อสร้างผู้นำในอนาคต (Future Leader) ตามหนึ่งในกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับการพัฒนาในสายวิชาการ เนื่องด้วยเป็นหลักสูตรที่ทุกคนในองค์กรควรได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง โดยสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการพัฒนาจะเน้นไปในส่วนของ Thinking Skills , People Skills และ Enriching Life และเป็นการพัฒนาที่จะได้นำหัวข้อประเด็นใหม่ ๆ ที่เป็นทักษะที่จะต้องใช้ในปัจจุบันและอนาคตมาส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรได้เรียนรู้ วิธีการพัฒนาจะมุ่งไปสู่การเรียนรู้ในแบบที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทางช่องทางต่าง ๆ โดยมีเครื่องมือใหม่ ๆ ในการกระตุ้นการเรียนรู้ และสร้างให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในองค์กรที่มีความยั่งยืน  

นอกเหนือจากพัฒนาในหัวข้อหลักสูตรหลัก ๆ แล้ว ทางมหาวิทยาลัยยังมีการจัดกิจกรรม Town Hall ประจำปี เพื่อเป็นการพบปะและให้นโยบายจากผู้บริหารระดับสูงถึงบุคลากร รวมทั้งหัวข้อที่ต้องให้บุคลากรได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ เช่น ด้าน SGDs , มีกิจกรรมการสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เช่น การจัด Town Hall Meeting  รวมถึงการสร้างความรู้สึกให้พนักงานได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรผ่านการพิจารณารางวัลที่เกี่ยวข้อง เช่น รางวัลข้าราชการดีเด่น รางวัลจากที่ประชุมสภาข้าราชการ  พนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) และรางวัลคนดี ศรีจุฬาฯ เป็นต้น กิจกรรมดังกล่าวข้างต้นนี้ถือเป็นการพัฒนาบุคลากรอีกมุมหนึ่ง ที่จะมีส่วนสำคัญการดูแลทรัพยากรบุคคล ให้รู้สึกถึงการมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับ ส่งเสริมขวัญและกำลังใจ มีความพร้อมที่จะเปิดรับความท้าทายและการเรียนรู้ใหม่ๆ 

Copyright © 2025 Office of Human Resources Management, Chulalongkorn University. All Rights Reserved.

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เราจะใช้คุกกี้เมื่อท่านได้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยคุกกี้ที่จำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ได้ สำหรับคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อพัฒนาเว็บไซต์และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่จำเป็นคือสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ ทำให้คุณสามารถใช้งานและเรียกดูเว็บไซต์ได้ตามปกติ คุณไม่สามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ในระบบของเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ของเรา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน

บันทึกการตั้งค่า