To uphold the royal legacy of two kings who envisioned Chulalongkorn University as the cornerstone of Siam, or as the “pillar of the land,” Chulalongkorn University, as the leading university of the nation, will adapt to become a High Performance Organization. Consequently, the human resources management process must evolve from a reactive to a proactive role, aligning more closely with the university’s strategy and vision. The human resources management system must be capable of selecting talented, high-quality individuals to work at Chulalongkorn University. It should offer a compensation system that is aligned with the capabilities of the staff, create pathways for career advancement, and maintain mechanisms that ensure the development of personnel to possess the competencies and core values that meet the university’s needs and challenges over time. At the same time, staff should experience job satisfaction and be able to contribute value to the university in an appropriate manner.
workforce in each department is a dynamic figure, subject to change based on the expansion of missions or the reduction of activities that are no longer necessary. The workforce numbers assigned to each department at any given time are determined by the specific needs of that department during that period. Therefore, to ensure that workforce planning is aligned with the rapidly changing external factors, the review of workforce numbers will be conducted more frequently in the future.
However, as a foundation for workforce planning, particularly for operational staff, the university is currently assessing the workforce in operational roles to understand the current status of the workforce and its appropriateness. The results of this evaluation will be used to determine the optimal number of personnel for each department. Additionally, criteria are being developed for determining the workforce in academic roles, such as the student-to-faculty ratio, academic output per faculty member, and personnel budget relative to revenue.
Chulalongkorn University will develop a personnel selection and recruitment system that meets high standards, including testing knowledge and skills of potential candidates. This may involve tests of aptitude, attitude, language proficiency, and more. For the recruitment of staff into higher positions, priority will be given to work history and experience, with less emphasis on initial academic qualifications. The university will review the job position standards and job responsibilities to make them more flexible, promoting employees’ ability to perform diverse roles. Additionally, the use of competencies in both work performance and management will be incorporated into the selection process for each position as appropriate.
Chulalongkorn University adopts a competency-based human resources management approach to develop its personnel. The university will enhance the personnel development system to ensure that the process is tailored to individual needs, offering courses that cover knowledge, new skills or tools, and professional ethics. This approach aims to prepare personnel to meet the university’s challenges.
Chulalongkorn University uses a system of pre-agreed objectives to assign tasks, track progress, and evaluate performance, focusing on outcomes such as the number of high-quality courses taught, research publications, graduate student graduation rates, external research funding, and community service hours, among others. Individual results must align with the position defined by the university.
The evaluation process will be fair, transparent, and accurate, with two parts: the first will evaluate work results by comparing the actual outcomes to the goals set in the agreement, and the second will evaluate behavior. Behavior will be assessed through feedback from a selected group of individuals who interact with the person being evaluated, including supervisors, colleagues, and subordinates.
As a large organization with a diverse range of positions and skill levels, Chulalongkorn University will implement a system that supports the movement of staff between departments and positions, enabling career growth based on competencies and abilities. This process will consider work performance history, achievements, self-development, and competencies. Academic staff can advance according to their academic positions, while operational staff can progress through levels such as expert, specialized expert, or management positions at varying levels.
Chulalongkorn University provides a wide range of welfare benefits to meet the different needs of its staff members, ensuring they receive similar rights and benefits. These welfare measures cover healthcare, work conditions, and additional support such as housing, education for dependents, and other services. The goal is to foster strong employee engagement, promote happiness in the workplace, and enable staff to contribute to the university’s success to the fullest extent.
The Personnel Policy Committee has established guidelines that the university’s compensation system must be fair within the organization, competitive with the labor market, and sustainable for the university’s budget. The university will apply a compensation framework based on job value and performance outcomes. A salary range will be established, and individual salary increases will be calculated as a percentage of the midpoint of the salary range. Annual compensation adjustments will be based on performance outcomes, aligned with budget agreements. The compensation will be funded by a combination of government subsidy budgets and the university’s own income generated from various activities.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง มีวัตถุประสงค์ที่จะบุกเบิก แสวงหา และเป็นคลังความรู้ ให้การศึกษา ส่งเสริม ประยุกต์ รวมทั้งพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ดังนั้นจุฬาฯ จึงจัดให้มีการพัฒนาทางวิชาการและการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องโดยการสร้างหลักสูตรการเรียนรู้ โครงการฝึกอบรม และสร้างสภาพแวดล้อมที่อำนวยต่อการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุดแก่บุคลากร ทั้งยังให้ความสำคัญกับสุขภาพของบุคลากร
เพราะจุฬาฯ ตระหนักว่า คุณภาพชีวิตของบุคลากรคือสิ่งที่สำคัญที่สุด เนื่องจากบุคลากรคือแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการนำพามหาวิทยาลัยให้บรรลุเป้าหมายในอนาคต
หลักสูตรการเรียนรู้และโครงการฝึกอบรมที่จุฬาฯ จัดทำขึ้นมีมากมายตามแนวความรู้หลายศาสตร์ หลากแขนงตามความสนใจของบุคลากร เพื่อส่งเสริมให้เกิด การเรียนรู้ มุ่งพัฒนาคุณภาพและความเชี่ยวชาญที่ต้องปรับให้ทันกับสถาการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะในการทำงาน (Learn@Home) หรือการพัฒนาความรู้ในงาน (HR e-Learning) ซึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับสถารณ์ในปัจจุบัน จึงมีการจัดเป็นบทเรียนออนไลน์สำหรับบุคลากรทุกภาคส่วนที่มีความสนใจ และการพัฒนาทักษะ 5 ด้าน ซึ่งสามารถอบรมได้ทาง CHULA MOOC หรือแม้กระทั่งโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น หลักสูตรการเตรียมตัวและการปฏิบัติตนหลังเกษียณ และการวางแผนการเงินเมื่อก้าวสู่โลกการทำงาน
รายงานช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ (Gender Pay Gap Report) ปี 2024 >> (Click)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจ้างงานตามสหภาพแรงงาน ซึ่งหมายความถึงการยอมรับในสหภาพแรงงานและสิทธิแรงงาน จึงมีการจัดตั้งสภาคณาจารย์และมีเครือข่ายวิชาชีพ เพื่อช่วยเหลือและเป็นกระบอกเสียงให้พนักงาน นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมเกี่ยวกับการจ้างงานตามสหภาพแรงงาน (Employment Practice Unions) ซึ้งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของ The Times Higher Education (THE) Impact Rankings ที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในเป้าหมายที่ 8 คือ งานที่เหมาะสมและเศรษฐกิจที่เติบโต (Decent Work and Economic Growth)
สภาคณาจารย์ คือตัวแทนของคณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ผ่านการเลือกตั้งและจัดตั้งขึ้นสำหรับบุคลากรสายวิชาการของจุฬาฯ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนคณาจารย์ทั้งปวงและเป็นสื่อกลางระหว่างสภาคณาจารย์กับคณาจารย์เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนประสานงานด้วยความร่วมมืออันดียิ่งกับฝ่ายบริหาร คณาจารย์ นิสิต ตลอดจนหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ สโมสรอาจารย์ และสมาคมนิสิตเก่าฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในการที่จะมุ่งมั่นสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยโดยส่วนรวม อันจะเป็นผลดีต่อสังคมและประเทศชาติ
สามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมของสภาคณาจารย์ได้ทาง http://www.senate.chula.ac.th/wordpress/
ส่วนเครือข่ายวิชาชีพถูกจัดตั้งขึ้นสำหรับบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสายปฏิบัติการ ประกอบไปด้วย 18 เครือข่าย ดังนี้
1. วิชาชีพบริหารจัดการระดับกลาง ด้านบริหาร
2. วิชาชีพการเงิน
3. วิชาชีพการบัญชี
4. วิชาชีพการพัสดุ
5. วิชาชีพแผนและงบประมาณ
6. วิชาชีพบริการวิจัยและบริการวิชาการ
7. วิชาชีพบริหารจัดการระดับกลาง ด้านวิชาการ
8. วิชาชีพวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ
9. วิชาชีพบุคคล
10. วิชาชีพสารบรรณ
11. วิชาชีพอาคารสถานที่และยานพาหนะ
12. วิชาชีพโสตทัศนศึกษา
13. วิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ
14. วิชาชีพห้องสมุด
15. วิชาชีพประชาสัมพันธ์
16. วิชาชีพทะเบียน
17. วิชาชีพกิจการนิสิต
18. วิชาชีพบริหารคุณภาพองค์กร
ถึงแม้เครือข่ายวิชาชีพจะไม่ได้เป็นตัวแทนของบุคลากรสายปฏิบัติการโดยตรงดังเช่นสภาคณาจารย์ แต่ก็มีหน้าที่คล้ายคลึงกัน อาทิเช่น สร้างเครือข่ายการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรจุฬาฯ สายปฏิบัติการในแต่ละวิชาชีพให้มีการสื่อข้อความอย่างรวดเร็วและทั่วถึง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานซึ่งกันและกัน รวมทั้งสร้างความเข้าใจในนโยบาย ระเบียบแนวปฏิบัติ ปัญหาอุปสรรค และวิธีการแก้ไขที่เกี่ยวข้องในแต่ละวิชาชีพ เพื่อให้ความช่วยเหลือบุคลากรในด้านต่างๆ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.hrm.chula.ac.th/newhrm/post-06092024-20/
สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์พร้อมรับแนวคิดและความคิดเห็นต่าง ๆ ที่ได้รับจากการประชุมเครือข่ายในทุก ๆ ครั้ง มาพิจารณาและออกแบบระบบการดูแลบุคลากรต่อไปในอนาคต เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรทุกคน เพื่อได้รับความสะดวกสบายในการทำงานกับจุฬาฯ
และเนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาด Covid – 19 ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงจัดให้ พนักงาน Outsource ของมหาวิทยาลัย ทั้งคนไทยและคนต่างด้าว ได้รับสวัสดิการในการฉีดวัคซีนป้องกันโรค Covid – 19
ในวันที่ร่างกายที่เป็นของเรากลับไม่เป็นดั่งใจ จากดวงตาที่เคยมองเห็นแม้แต่ตัวอักษรที่เล็กที่สุดบนหน้าหนังสือกลับมืดสนิท หรือแม้แต่ขาที่เคยพาเราไปทุกที่ กลับกลายเป็นสิ่งที่เพิ่มความยากลำบากในการใช้ชีวิต เราจะทำอย่างไร หรือสงสัยไหมว่าพวกเขาเหล่านั้นใช้ชีวิตกันอย่างไร… แต่ในความลำบากของร่างกายนั้น หากมีใครสักคน หรือที่ไหนสักแห่งเห็นคุณค่าของพวกเขา ให้พวกเขาได้มีโอกาสใช้ความสามารถที่มีสร้างประโยชน์ หรือพัฒนาสิ่งๆต่างๆ ที่เกิดประโยชน์กับบุคคล หรือสถานที่นั้นๆ พวกเขาคงจะรู้สึกภาคภูมิใจ และมีความหวังในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อไป
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เห็นความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ จึงได้มีโครงการจ้างงานผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพ หรือผู้พิการ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานที่มีคุณค่าอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม รวมไปถึงการสร้างสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการทั้งที่เป็นบุคลากรภายในและบุคลภายนอก และเพื่อเป็นการส่งต่อพลังบวกต่อผู้พิการที่ขาดความมั่นใจในคุณค่าหรือความสามารถของตนเอง
เพราะผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพหรือผู้พิการหวังที่จะสามารถเดินทางหรือการใช้ชีวิตในการทำงานได้อย่างสะดวก ซึ่งทางเดินสาธารณะหรืออาคารต่าง ๆ ส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังไม่รองรับหรือเอื้อประโยชน์ ผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพหรือผู้พิการจักต้องต้องพยายามดิ้นรนให้ตัวเองกระโดดขึ้นมามีคุณภาพชีวิตทัดเทียมกับคนอื่น จากงานวิจัย “หลักการออกแบบเพื่อ ทุกคน Universal Design ปรับเปลี่ยนเพื่อความยั่งยืน” โดย รองศาสตราจารย์ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึง Universal Design หรือ การออกแบบเพื่อทุกคน ว่าเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อทุกคนทุก ๆ กลุ่มวัย ไม่ว่าจะเป็น ผู้สูงอายุ คนปกติ และผู้พิการ สร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงพื้นที่การให้บริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายใจ
และการปรับปรุงหอพักจุฬานิเวศน์ เนื่องจากอาคารเก่าผิดกฎมายซึ่งอาคารที่สร้างมานานจะไม่มีระบบป้องกันอัคคีภัย และ ไม่มีบันไดหนีไฟ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
ทั้งนี้ทางจุฬาฯยังไม่หยุดการพัฒนาและปรับปรุงอาคารเพื่อเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพหรือผู้พิการเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและความใส่ใจในการเรียน, การทำงาน และการติดต่อกับจุฬาฯ ต่อไปในอนาคต
(ผังทางลาดและการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ ณ ปัจจุบัน ในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรในทุกภาคส่วน และส่งเสริมให้เกิดความหลากหลาย ความเสมอภาค การอยู่ร่วมกัน และได้รับการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัย จึงได้กำหนดให้สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ดูแลในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรทุกกลุ่ม ดังนั้น หากมีความประสงค์จะแจ้งเรื่องราวต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายสิทธิประโยชน์และการดูแลทรัพยากรมนุษย์ สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ เบอร์โทร 02-218-0263
ลักษณะห้องน้ำผู้พิการตามมาตรฐาน
1.ต้องมีพื้นที่ว่างเพื่อให้ Wheel Chair หมุนกลับตัวได้ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 เมตร ขึ้นไป
2.วัสดุปูพื้นต้องไม่ลื่น และพื้นในห้องน้ำต้องเสมอกับพื้นภายนอก
3.ข้างโถส้วมฝั่งที่ติดผนัง ต้องมีราวจับสำหรับพยุงตัว ทั้งแนวนอน และแนวดิ่ง (ราวทั้งสองอาจจะเป็นราวต่อเนื่องกันก็ได้)
3.1. ราวแนวนอน ต้องสูง 65-70 เซนติเมตร โดยปลายของราวต้องยื่นออกมาโดยวัดจากหน้าโถส้วมอีก 25-30 เซนติเมตร
3.2. ราวแนวดิ่ง ยื่นออกมาต่อจากส่วนปลายของราวแนวนอน โดยยาวขึ้นไปจากปลายแนวนอน 60 เซนติเมตร ขึ้นไป
4.ข้างโถส้วมฝั่งที่ไม่ติดผนัง มีราวจับแนวราบ หรือแนวดิ่งแบบพับเก็บได้ โดยเมื่อกางออกต้องล็อคได้ง่าย ยาว 55 เซนติเมตร ขึ้นไป ห่างจากขอบโถ 15-20 เซนติเมตร
5.มีระบบสัญญาณให้คนภายนอกแจ้งเหตุให้แก่ผู้พิการ และระบบให้ผู้พิการแจ้งเหตุเอง หรือเรียกคนช่วยได้
6.ประตูเป็นบานเลื่อน หรือบานเปิด ต้องเปิดค้าง 90 องศา มีราวจับแนวนอน มีป้ายผู้พิการ
นอกจากสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการที่มีอยู่ทั่วมหาวิทยาลัยแล้ว Sidewalk Continuous level หรือ ระดับทางเท้า ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ยังถูกประเมินและจัดไว้ในระดับปานกลาง – สูงสุด ซึ่งหมายความว่าเป็นทางเท้าที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก และมีสิ่งกีดขวางน้อย ลดอุปสรรคในการใช้งานแก่ทั้งผู้พิการ และบุคคลทั่วไป
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสนับสนุน ส่งเสริม และให้ความสำคัญในเรื่องความหลากหลายในองค์กร โดยเชื่อว่าการรวมกันของความแตกต่างทำให้เกิดความคิดเห็นในหลายแง่มุมที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน อีกทั้งเคารพในความเป็นปัจเจกบุคคล โดยมองว่าบุคลากรไม่ว่าจะเป็นเพศอะไรล้วนเป็นคนสำคัญและเป็นบุคลากรที่น่าภาคภูมิใจของจุฬาฯ
ดังที่จะเห็นได้จากคุณนิล์รุธตรา ช่วยหนู หรือคุณอะตอม บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นเหมือนตัวแทนที่สะท้อนให้เห็นถึงการพร้อมโอบรับอัตลักษณ์ที่มีความหลากหลายของบุคลากรภายในรั้วจุฬาฯ และแสดงให้เห็นถึงการรับรู้ รับฟัง และปรับเปลี่ยน เพื่อให้บุคลากรของจุฬาฯ สามารถทำงานได้อย่างมีความสุข
ชื่อ: คุณนิล์รุธตรา ช่วยหนู (อะตอม)
ตำแหน่ง: พนักงานมหาวิทยาลัย
สังกัด: ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์
ตอนเข้ามาเมื่อปี 2545 จุฬาฯ ก็ไม่ได้จะมาสนใจเกี่ยวกับ LGBTQ+ เท่าไหร่ แต่ในปัจจุบันก็ผ่านมาประมาณ 20 ปี ได้เกิดวงล้อที่ขับเคลื่อนไปมากพอสมควร อย่างคณะรัฐศาสตร์มีความหลากหลายทางเพศเยอะมาก คณะอื่นก็น่าจะเป็นอย่างนั้นด้วย ซึ่งทุกคนก็ออกมาเป็นหน้าเป็นตาในสังคมมากมาย หากเป็นเมื่อก่อนอาจจะไม่สามารถทำได้ มหาวิทยาลัยก็พัฒนาไปตามวงล้อของสังคมทั้งในเรื่องสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ ทำให้ไม่ได้รู้สึกว่ากีดกันอะไร
ประสบการณ์ดี ๆ สำหรับเรามีตั้งแต่วันแรกที่ก้าวเข้ามาเลยคือให้การยอมรับ ไม่ใช่ยอมรับแค่เรื่องเพศที่หลากหลาย แต่ยอมรับความคิดหลากหลายในการทำงาน ทุกอย่างคือ 1) งาน และ 2) ความรับผิดชอบ ถ้าเกิดคุณทำสองอย่างให้ทุกคนยอมรับได้คือจบ ไม่ได้มองว่าเพศอะไร อายุเท่าไร อะไรอย่างนี้ไม่เกี่ยว
ในส่วนของความประทับใจกับจุฬาฯ ก็คือตอนเราไปร่วมงานเป็นกรรมการฝึกซ้อมบัณฑิตในงานพระราชทานปริญญาบัตร แล้วชื่อในบัตรประจำตัวกรรมการ เขาก็ไม่ได้ใส่คำว่านาย ก็ใส่กระโปรงใส่สูทปกติกัน บางคนอาจจะรู้ว่าเราเป็นหรือบางคนไม่รู้คือเราไม่สนใจ เพราะคิดว่าเรามาทำงาน เรามาเป็นกรรมการฝึกซ้อมบัณฑิต เราแต่งตัวสุภาพตามที่เขากฎระเบียบที่ต้องมีคือถ้าเกิดเราเป็นผู้หญิงเราก็ต้องแต่งกระโปรงอะไรให้เรียบร้อยเหมาะสม จริง ๆ ก็ในทุกสังคม ไม่ใช่แค่ในมหาลัย ถ้าเกิดเรามีความพอดีแล้วก็ปฏิบัติตามระเบียบของเขาเนี่ยเราว่ามันก็โอเค ซึ่งจุฬาฯ เขาก็ให้โอกาสกับทุกคนอยู่แล้ว
เราว่าคนเรา ให้มองทุกคนเป็นมนุษย์เท่ากันก่อน ถ้าคุณมองทุกคนเป็นมนุษย์เท่ากันอย่างอื่นคือจบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ๆ สวัสดิการ การแต่งงาน วันหยุด
จากบทสัมภาษณ์ข้างต้น คุณอะตอมถือว่าเป็นอีกหนึ่งเสียงของคนที่มีความหลากหลายทางเพศและบุคลากรในจุฬาฯ ที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรการศึกษาในปัจจุบัน ก็มีการรับฟัง และพร้อมปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ยุคสมัย ให้สมกับที่เป็นสถาบันการศึกษา ทั้งยังสะท้อนว่าสังคมยังพยายามเบนเข็มไปในทิศทางที่เปิดรับความหลากหลายมากขึ้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีการพัฒนานโยบาย ทั้งการประเมินงาน การเลื่อนตำแหน่ง ที่จะไม่มีการนำเพศมาเป็นเกณฑ์สำหรับกำหนดกรอบการทำงานและการประเมิน นอกจากนโยบายที่เกี่ยวกับหน้าที่การงานแล้ว จุฬาฯ ยังคำนึงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของบุคลากรเพศหลากหลาย ทั้งการผลักดันสวัสดิการใหม่ ๆ ที่จะช่วยอุดช่องโหว่ของสวัสดิการอื่น ๆ เช่น การเพิ่มสวัสดิการคู่ชีวิตซึ่งเป็นสวัสดิการในรูปแบบของประกันสุขภาพ ที่เอื้อประโยชน์ให้กับคนใกล้ชิด หรือคู่รัก (ที่เป็นเพศเดียวกัน) นอกเหนือจากแผนประกันกลุ่มที่มีข้อจำกัดทำให้กลุ่มคนใกล้ชิดไม่สามารถเข้าถึงผลประโยชน์จากประกันได้ และยังมีการผลักดันให้เกิดห้องน้ำที่ใช้ได้ทุกเพศทุกคน (All-gender restroom) ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้งานและเปิดกว้างครอบคลุมคนในทุก ๆ มิติมากยิ่งขึ้น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคำนึงถึงความสำคัญของคุณภาพชีวิตบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยการมอบคุณภาพชีวิตที่ดีแก่บุคลากรยังช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่องค์กร ว่าบุคลากรที่ปฏิบัติงานนั้นจะนำพามาซึ่งประสิทธิภาพในการทำงาน และก่อให้เกิดความผูกพันกับองค์กร เหตุนี้จุฬาฯ จึงมีการวางแผนพัฒนาการดูแลบุคลากร และสวัสดิการต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มทำงานกับจุฬาฯ ระหว่างทำงาน เกษียณ จวบจนหลังเกษียณ ครอบคลุมทุก ๆ ด้าน ให้มั่นใจว่าชาวจุฬาฯ จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีตลอดช่วงชีวิตอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม ข้อความข้างต้นอาจจะไม่สามารถอธิบายให้เห็นภาพได้ชัดเจนเท่ากับคนที่ได้ประสบโดยตรง ด้วยเหตุนี้ เราจึงเชิญตัวแทนบุคลากรมาเล่าถึงประสบการณ์ และความประทับใจในการทำงานภายในรั้วจามจุรีมาตลอดอายุการปฏิบัติงานมากกว่าสามสิบปี ตั้งแต่เริ่มต้นการทำงาน จนถึงวันเกษียณ ผ่านคำบอกเล่าของตัวแทนของกลุ่มบุคลากรผู้เกษียณอายุการทำงานในปี พ.ศ.2566 ในตำแหน่งที่แตกต่างกันของบุคลากรจุฬาฯ ประกอบไปด้วย
รศ.ดร.ศิริรัตน์ แอดสกุล
อาจารย์
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะรัฐศาสตร์
บรรจุ: วันที่ 11 พฤษภาคม 2535
(อายุงาน 32 ปี)
คุณกเชนทร เอื้อเฟื้อกลาง
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
หน่วยงานพัสดุ
คณะแพทยศาสตร์
บรรจุ: วันที่ 17 ตุลาคม 2531
(อายุงาน 34 ปี 11 เดือน)
คุณชัยมงคล บุญเปี่ยม
พนักงานรักษาความปลอดภัย
ศูนย์รักษาความปลอดภัยและจัดการจราจรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บรรจุ: 1 พฤศจิกายน 2533
(อายุงาน 33 ปี)
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์
ตลอดระยะเวลาที่ทำงานอยู่ที่จุฬาฯ เกือบ 32 ปีนั้น มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกและมีสถานภาพเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่นี่ การสอนหนังสือนั้นเป็นการให้ความรู้แก่นิสิตให้เป็นบัณฑิตแห่งจุฬาฯ ที่ดีมีคุณภาพ มีคุณธรรม มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ตามปณิธานของจุฬาฯ คือ การสอนให้เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรม
คุณกเชนทร
เราเคยเดินเคยนั่งรถผ่านรั้วจุฬาฯ มาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยแรก ๆ ที่เข้ามากรุงเทพฯ ตอนนั้นก็มีความรู้สึกว่าอยากเข้ามาทำงานที่นี่ ดังนั้นตอนที่ได้เข้ามาทำงานครั้งแรกที่คณะแพทยศาสตร์ รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มาทำงานที่จุฬาฯ มาก ๆ ครับ
คุณชัยมงคล
ดีใจครับ อยากทำงานที่นี่เพราะคิดว่าสวัสดิการของมหาวิทยาลัยน่าจะดีกว่าเป็นยามของบริษัทครับ รู้สึกประทับใจและภูมิใจมากครับที่ได้มาทำงานที่จุฬาฯ
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์: การที่เราได้มีส่วนสร้างบัณฑิตที่ดีมีคุณภาพออกสู่สังคม มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดี มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ในฐานะที่เป็นอาจารย์มีความภาคภูมิใจที่ลูกศิษย์ทุกคนล้วนเป็นอภิชาตศิษย์ทั้งสิ้น มีความมานะ ขยันหมั่นเพียร เจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการขึ้นอย่างรวดเร็ว
คุณกเชนทร: ภูมิใจกับรางวัลต่าง ๆ ที่ได้รับมาครับ เรามีโอกาสได้ทำงานให้กับจุฬาฯ ในส่วนรวมนะครับ ก็คืองานกีฬาบุคลากร ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแสดงต่าง ๆ จนได้รับรางวัล รวมไปถึงโครงการโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์คุณธรรม ก็ได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในด้านจิตอาสาในการทำงานโครงการนี้ด้วย และล่าสุดคือการได้รับรางวัลเพชรพัสดุ โดยตอนแรกตนเองก็ไม่คิดว่าได้รับรางวัลนี้ แต่ก็เป็นโอกาสที่ท่านผู้บริหารมองเห็นว่าที่ผมได้ปฏิบัติงานมาโดยตลอดมีแนวทางในการทำงานที่ชัดเจนและควรจะได้รับรางวัลนี้
คุณชัยมงคล: รางวัลคนดีศรีจุฬาฯ นี้ภูมิใจมากที่สุดครับ เพราะเป็นรางวัลสุดท้ายก่อนที่จะเกษียณพอดี ผมก็คิดไว้ว่าผมได้รางวัลนี้ผมก็จะเก็บรักษาความดีนี้ไว้คู่กับชื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตลอดไปครับ
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์: จากบทเพลง “เพชรชมพู” ทำให้นึกถึงประโยคที่ว่า “จุฬาฯของเราให้เราทุกอย่าง” ก็คงเป็นจริงตามนั้น แต่ถ้าให้ตัดสินใจเลือกสวัสดิการเพียงหนึ่งเดียว ขอเลือกเป็นสวัสดิการด้านการศึกษา คือ การให้บุคลากรสามารถนำบุตรเข้าศึกษาได้ที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่ดีมีมาตรฐานการศึกษา นักเรียนมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง ที่อยู่ในกำกับและการดูแลของคณาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ด้วย
คุณกเชนทร: สวัสดิการในเรื่องของบ้านที่อยู่อาศัย จุฬาลงกรณ์ก็มีเงินกู้เพื่อเคหะสงเคราะห์ของมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนทุนทรัพย์ในการซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับตนเองและครอบครัว ก็เป็นความภาคภูมิใจ ที่เราได้มีบ้านในทุกวันนี้ก็เพราะจุฬาฯ
คุณชัยมงคล: สวัสดิการในการสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครับ แต่จริง ๆ ก็มีหลายอย่างครับ โดยเฉพาะสวัสดิการด้านสุขภาพ ช่วยเหลือตอนที่เราเจ็บป่วย ให้เบิกจ่ายได้ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงินสดเยอะ ต่างจากบริษัทอื่น ๆ ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองครับ
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์: ขอให้ทุกคนจงมีความภาคภูมิใจในการที่ได้โอกาสเข้ามาเป็นบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้ จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย หลายคนที่พอได้ยินว่าเราทำงานที่จุฬาฯ เราเป็นอาจารย์จุฬาฯ เป็นนิสิตจุฬาฯ เขาเหล่านั้นต่างก็บอกว่าดีจัง เก่งจัง ครอบครัวและเครือญาติต่างก็ดีใจและภูมิใจมาก
คุณกเชนทร: การทำงานต้องมีระเบียบวินัยนะครับ เพื่อให้เราทำงานได้ถูกต้องตามระเบียบ คำว่าวินัยทุกคนก็ต้องมีเพื่อที่จะให้งานมีข้อผิดพลาดและเกิดข้อบกพร่องน้อยลง นอกเหนือจากงานที่ปฏิบัติผมก็อยากให้น้อง ๆ มีคำว่า “จิตอาสา” ในการทำงานพวกอย่างเราๆ เจ้าหน้าที่ถ้าพอมีเวลาว่างก็อยากให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งมีส่วนร่วมกับงานหรือโครงการของจุฬาฯ ครับ
คุณชัยมงคล: ก็ขอให้น้อง ๆ ที่ยังทำงานอยู่ ก็อยากให้ตั้งใจทำงานและรักษามาตรฐานการทำงานให้ดีไว้ครับ และก็ให้บริการด้วยใจ ใส่ใจในการปฏิบัติหน้าที่ครับ เดี๋ยวสิ่งดี ๆ ก็จะตามมาครับ
จากบทสัมภาษณ์ข้างต้น คงจะพอทำให้เราเห็นภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนทำงานภายในจุฬาฯ ชัดเจนมากขึ้น มีทั้งส่วนที่ทุกคนรู้สึกเหมือนกัน และจุดที่รู้สึกแตกต่างกันไปตามแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน แต่ในทุก ๆ แง่มุม ก็สะท้อนให้เห็นว่าจุฬาฯ ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของบุคลากรจริง ๆ พร้อมปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย และพัฒนาไปควบคู่กัน ทั้งสถาบัน และบุคลากรภายในองค์กรทุกระดับชั้น จุฬาฯ ไม่ได้มองแค่ความสัมพันธ์แบบนายจ้าง ลูกจ้าง แต่ยังมองไปถึงการเสริมสร้างความสุขทั้งทางกาย และความสบายใจของบุคลากรภายในรั้วจามจุรีผ่านสวัสดิการ และการดูแลในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งบทสัมภาษณ์นี้ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถยืนยันได้ถึงความผูกพันที่มีต่อองค์กรของตัวแทนบุคลากรทั้งสามท่าน ที่เปรียบดั่งครอบครัวคนสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใส่ใจและดูแลการดำรงชีวิตของบุคคลกรในมหาวิทยาลัยทุกท่าน โดยมหาวิทยาลัยประสงค์ให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีความสุข และหากเกิดเหตุใดที่ทำให้พนักงานเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือไม่โปร่งใส่ในกระบวนการดำเนินการใดๆ เช่น ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการประเมินผลการปฏิบัติงาน การไม่ต่อสัญญาปฏิบัติงาน การเลิกสัญญาปฏิบัติงาน การถูกลงโทษทางวินัย หรือเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจ อันเนื่องมาจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา มหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมมาตรการเกี่ยวกับการอุทธรณ์ร้องทุกข์ของพนักงานมหาวิทยาลัยที่ชัดเจน เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และป้องกันการถูกละเมิดของบุคลากรในมหาวิทยาลัย
“ พนักงานมหาวิทยาลัยมีสิทธิ์ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ร้องทุกข์ เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่พนักงานได้ ”
โดยมีแนวทางการดำเนินการดังนี้
นอกจากนี้ ในกลุ่มบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยยังส่งเสริมสิทธิ์ในการอุทธรณ์เกี่ยวกับการเสนอขอทบทวนผลงานทางวิชาการสำหรับยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น เพื่อสนับสนุนความเติบโตทางวิชาชีพของบุคคลากร และการต่อสัญญาการปฏิบัติงานพนักงานมหาวิทยาลัยในกรณีที่ผลงานของบุคลากรท่านนั้นอยู่ระหว่างการยื่นเสนอขอผลงานทางวิชาการ ซึ่งกระบวนการดำเนินการมีขั้นตอน ดังนี้
กระบวนการดำเนินการอุทธรณ์เกี่ยวกับการเสนอขอทบทวนผลงานทางวิชาการ
สำหรับยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทร : 02-218-0151
อีเมล์ : hr@chula.ac.th
เว็บไซต์ : https://www.hrm.chula.ac.th