EN TH
EN TH
Edit Template
หลักการ การประเมินผลการปฏิบัติงาน

หลักการ การประเมินผลการปฏิบัติงาน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยในสังกัด เพื่อประกอบการพิจารณาผลการทดลองปฏิบัติงาน การปรับเงินเดือน การเปลี่ยนสัญญาปฏิบัติงาน การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นในการบริหารงานบุคคล

โดยสามารถแบ่งประเภทของการประเมินผลการปฏิบัติงานได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้  

การประเมินผลการทดลองปฏิบัติงาน

รอบประเมินของพนักงานมหาวิทยาลัยที่อยู่ในสัญญาทดลองปฏิบัติงานสายปฏิบัติการ และสายวิชาการ 

  • ครั้งที่ 1 :   4 เดือน (นับแต่วันที่บรรจุจ้าง)
  • ครั้งที่ 2 :   8 เดือน (ประเมินก่อนครบสัญญาปฏิบัติงานอย่างน้อย 3 เดือน)

พนักงานมหาวิทยาลัยที่ทดลองปฏิบัติงาน

  • ต้องเข้าร่วม โครงการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ให้แล้วเสร็จก่อนการประเมินทดลองปฏิบัติงานครั้งที่ 2 จึงจะถือว่าผ่านการทดลองปฏิบัติงาน
  • ต้องเข้า ทดสอบกลาง (E-Testing) ให้แล้วเสร็จก่อนการประเมินทดลองปฏิบัติงานครั้งที่ 2 จึงจะถือว่าผ่านการทดลองปฏิบัติงาน
  • ทำข้อตกลงภาระงาน (Assignment Sheet) และ แบบประเมินผลการทดลองปฏิบัติงาน ผ่าน ระบบ CU e-PMS (pms.hrm.chula.ac.th)

ขั้นตอนการดำเนินการ

ผู้ดำเนินการ 

รายละเอียด 

บุคลากร 

  • กรอกข้อตกลงภาระงาน (Assignment Sheet) ตามรอบประเมิน 
  • กรอกแบบประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบประเมิน 
    • ครั้งที่ 1 ระยะเวลา 4 เดือน (นับแต่วันที่บรรจุจ้าง) 
    • ครั้งที่ 2 ระยะเวลา 8 เดือน (ประเมินก่อนครบสัญญาปฏิบัติงานอย่างน้อย 3 เดือน) 

ผ่าน ระบบ CU e-PMS (pms.hrm.chula.ac.th)  

ผู้บังคับบัญชา/คณะอนุกรรมการ/คณะกรรมการ/คณะกรรมการบริหารฯ 

  • ประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย 
    • ครั้งที่ 1 ระยะเวลา 4 เดือน พิจารณาผลคะแนนการประเมินทดลองปฏิบัติงาน 
    • ครั้งที่ 2 ระยะเวลา 8 เดือน พิจารณาผลคะแนนการประเมินครบทดลองปฏิบัติงาน / พิจารณา % การปรับเงินเดือนครบทดลองปฏิบัติงาน  (ไม่เกิน 4 %) และผลการต่อสัญญาฉบับที่ 1   

 

เจ้าหน้าที่ HR ส่วนงาน/หน่วยงาน 

  • รวบรวม ผลการคะแนนการประเมินทดลองปฏิบัติงาน และนำผลการพิจารณา % การปรับเงินเดือนครบทดลองปฏิบัติงาน  เข้าสู่ระบบ SAP 
  • ตรวจสอบว่าพนักงานมหาวิทยาลัยที่ครบทดลองปฏิบัติงานจะต้องเข้าร่วม โครงการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่/และสอบวัดความถนัดเรียบร้อยแล้วหรือไม่ 
  • จัดทำบันทึกผลการพิจารณา ผลการคะแนนการประเมินทดลองปฏิบัติงาน และนำผลการพิจารณา % การปรับเงินเดือนครบทดลองปฏิบัติงาน พร้อมทั้งสัญญาปฏิบัติงานฉบับที่ 1 ฝ่ายบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ 

HRBP 

  • ตรวจสอบความถูกต้อง และอนุมัติผลการประเมินทดลองปฏิบัติงานในระบบ SAP 

พนักงานมหาวิทยาลัยหลังผ่านทดลองปฏิบัติงานมิสิทธิ์ได้รับการประเมินผลต่อสัญญาปฏิบัติงาน ดังนี้ 

  • พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการตำแหน่งอาจารย์ 
    • ฉบับที่ 1 : 3 ปี 
    • ฉบับที่ 2 : 2 ปี 
    • ฉบับที่ 3 : 2 ปี

      * หมายเหตุ : พนักงานมหาวิทยาลัยต้องดำเนินการขอตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นภายในสัญญาปฏิบัติงานฉบับที่ 3  

  • พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 
    • ฉบับที่ 1 : 5 ปี 
    • ฉบับที่ 2 : 3 ปี 
    • ฉบับที่ 3 : 3 ปี

      * หมายเหตุ : พนักงานมหาวิทยาลัยต้องดำเนินการขอตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นภายในสัญญาปฏิบัติงานฉบับที่ 3

  • พนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ จะได้รับการต่อสัญญาจนถึงวันที่เกษียณอายุ
  • พนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการตั้งแต่ระดับ P8 ขึ้นไป 
    • ฉบับที่ 1 : 3 ปี 
    • ฉบับที่ 2 : 5 ปี 
    • ฉบับที่ 3 เป็นต้นไป : ตั้งแต่ 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี และไม่เกินวันที่เกษียณอายุ
  • พนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการตั้งแต่ระดับ P9 และพนักงาน รปภ.
    • ฉบับที่ 1 : 3 ปี 
    • ฉบับที่ 2 : 5 ปี 
    • ฉบับที่ 3 : 5 แต่ไม่เกิน 10 ปี และไม่เกินวันที่เกษียณอายุ

        *หมายเหตุ : กรณีจะได้รับพิจารณาจากต้นสังกัดขยายระยะสัญญาจะพิจารณาผลการปฏิบัติงานย้อนหลัง 3 ปีติดต่อกันโดยนับจากปีปัจจุบัน

  • ระดับ ดีเยี่ยม 3 ปีย้อนหลังติดต่อกัน ไม่เกิน 10 ปี
  • ระดับ ดีมาก 3 ปีย้อนหลังติดต่อกัน ไม่เกิน 8 ปี
  • ระดับ ดีขึ้นไป 3 ปีย้อนหลังติดต่อกัน ไม่เกิน 6 ปี
  • ระดับ ต่ำกว่าดี 3 ปีย้อนหลังติดต่อกัน 5 ปี 

ขั้นตอนการดำเนินการ

ผู้ดำเนินการ 

รายละเอียด 

เจ้าหน้าที่ HR ส่วนงาน/หน่วยงาน 

 

 

  • ตรวจสอบข้อมูลพนักงานมหาวิทยาลัยที่ใกล้หมดสัญญา และดำเนินการขั้นตอนการประเมินต่อสัญญาปฏิบัติงานผ่านระบบ CUERP – Fiori : https://www.cuerpapp.chula.ac.th)

ผู้บังคับบัญชา/คณะอนุกรรมการ/คณะกรรมการ/คณะกรรมการบริหารฯ 

  • พิจารณาผลการประเมินต่อสัญญา 

เจ้าหน้าที่ HR ส่วนงาน/หน่วยงาน 

  • รวบรวมผลการประเมินการต่อสัญญา และจัดทำสัญญาปฏิบัติงานเพื่อลงนาม 2 ชุด  
    • ชุดที่ 1 ส่งมายังฝ่ายบริหารงานทรัพยากรมนุษย์  
    • ชุดที่ 2 ให้พนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับการต่อสัญญาเก็บไว้ และขอให้ส่วนงาน/หน่วยงาน สำเนาเก็บไว้ด้วย 
  • จัดทำบันทึกขอต่อสัญญาปฏิบัติงาน พร้อมแนบสัญญาปฏิบัติงานส่งมายังฝ่ายบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ 

HRBP  

  • นำข้อมูลการต่อสัญญาเข้าระบบ CUERP-HR 

รอบการประเมินผลการประจำปี ของพนักงานมหาวิทยาลัย

สายวิชาการ

  • ประเมินครั้งที่ 1 : 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม (5 เดือน) 
  • ประเมินครั้งที่ 2 : 1 มกราคม – 31 กรกฎาคม (7 เดือน) 

สายปฏิบัติการ 

  • ประเมินครั้งที่ 1 : 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม (ติดตามความคืบหน้า) 
  • ประเมินครั้งที่ 2 : 1 มกราคม – 30 มิถุนายน (ประเมินผลการปฏิบัติงาน) 

การปรับเงินเดือนประจำปี
พนักงานมหาวิทยาลัยซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองปฏิบัติงานไม่มีสิทธิได้รับการปรับเงินเดือนประจำปี เมื่อพนักงานมหาวิทยาลัยผ่านการทดลองปฏิบัติงานให้พิจารณาปรับเงินเดือนประจำปีตาม สดส่วนระยะเวลาที่ผู้นั้นปฏิบัติงาน (นับระยะเวลาปฏิบัติงานรอบการประเมิน) และคํานวณจากค่ากลางของ กระบอกเงินเดือนของพนักงานมหาวิทยาลัยผู้นั้น 

พนักงานมหาวิทยาลัย สามารถข้อตกลงภาระงาน (Assignment Sheet) และ แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ผ่าน ระบบ CU e-PMS (pms.hrm.chula.ac.th

ขั้นตอนการดำเนินการ

ผู้ดำเนินการ 

รายละเอียด 

บุคลากร 

  • กรอกข้อตกลงภาระงาน (Assignment Sheet)ตามรอบประเมิน 
  • กรอกแบบประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบประเมิน 
  • สายวิชาการ
    • ประเมินครั้งที่ 1 : 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม (5 เดือน) 
    • ประเมินครั้งที่ 2 : 1 มกราคม – 31 กรกฎาคม (7 เดือน) 
  • สายปฏิบัติการ 
    • ประเมินครั้งที่ 1 : 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม (ติดตามความคืบหน้า) 
    • ประเมินครั้งที่ 2 : 1 มกราคม – 30 มิถุนายน (ประเมินผลการปฏิบัติงาน)

ผู้บังคับบัญชา/คณะอนุกรรมการ/คณะกรรมการ/คณะกรรมการบริหารฯ 

  • ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย 

สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ 

  • ส่งบันทึกแจ้งเวียนวงเงินงบประมาณกำหนดการปรับเงินเดือนประจำปี 
  • สร้างวงเงินหน่วยงบประมาณในระบบ SAP 

ผู้บังคับบัญชา/คณะอนุกรรมการ/คณะกรรมการ/คณะกรรมการบริหารฯ/ 

เจ้าหน้าที่ HR ส่วนงาน/หน่วยงาน 

  • รวบรวมผลคะแนนประเมิน และนำผลคะแนนประเมินเข้าระบบ SAP 
  • พิจารณา % การปรับประจำปี และนำผลคะแนนประเมินเข้าระบบ SAP 
  • ตรวจสอบความถูกต้องของผลคะแนนประเมิน และ % การปรับประจำปีให้ถูกต้องตามมติของส่วนงาน/หน่วยงาน 
  • ทำบันถึงส่งผลการพิจารณาผลคะแนนประเมิน และ % การปรับประจำปีที่ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้วส่งมายังฝ่ายบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ 

HRBP 

  • ตรวจสอบความถูกต้องตรงตามเกณฑ์ และอนุมัติผลการปรับเงินเดือนประจำปีในระบบ SAP 

เจ้าหน้าที่ HR ส่วนงาน/หน่วยงาน 

  • ตรวจสอบรายงานการปรับเงินเดือนประจำปี ผ่านระบบ SAP 

Copyright © 2025 Office of Human Resources Management, Chulalongkorn University. All Rights Reserved.

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เราจะใช้คุกกี้เมื่อท่านได้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยคุกกี้ที่จำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ได้ สำหรับคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อพัฒนาเว็บไซต์และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่จำเป็นคือสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ ทำให้คุณสามารถใช้งานและเรียกดูเว็บไซต์ได้ตามปกติ คุณไม่สามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ในระบบของเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ของเรา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน

บันทึกการตั้งค่า