EN TH
EN TH
Edit Template
Disabilities do not mean Limited Potential

Disabilities do not mean Limited Potential

ขีดจำกัดที่ไร้ขีดจำกัด

      ในวันที่ร่างกายที่เป็นของเรากลับไม่เป็นดั่งใจ จากดวงตาที่เคยมองเห็นแม้แต่ตัวอักษรที่เล็กที่สุดบนหน้าหนังสือกลับมืดสนิท หรือแม้แต่ขาที่เคยพาเราไปทุกที่ กลับกลายเป็นสิ่งที่เพิ่มความยากลำบากในการใช้ชีวิต เราจะทำอย่างไร หรือสงสัยไหมว่าพวกเขาเหล่านั้นใช้ชีวิตกันอย่างไร… แต่ในความลำบากของร่างกายนั้น หากมีใครสักคน หรือที่ไหนสักแห่งเห็นคุณค่าของพวกเขา ให้พวกเขาได้มีโอกาสใช้ความสามารถที่มีสร้างประโยชน์ หรือพัฒนาสิ่งๆต่างๆ ที่เกิดประโยชน์กับบุคคล หรือสถานที่นั้นๆ พวกเขาคงจะรู้สึกภาคภูมิใจ และมีความหวังในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อไป

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เห็นความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ จึงได้มีโครงการจ้างงานผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพ หรือผู้พิการ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานที่มีคุณค่าอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม รวมไปถึงการสร้างสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการทั้งที่เป็นบุคลากรภายในและบุคลภายนอก และเพื่อเป็นการส่งต่อพลังบวกต่อผู้พิการที่ขาดความมั่นใจในคุณค่าหรือความสามารถของตนเอง

      สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงขอเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพ ซึ่งสอดคล้องกับ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยในที่นี้จะกล่าวถึง เป้าหมายที่ 8  การส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ รวมทั้งการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน ซึ่งหนึ่งในดัชนีชี้วัดความสำเร็จนี้ ได้แก่ บรรลุการจ้างงานเต็มที่มีอย่างมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและ ผู้มีภาวะทุพพลภาพ

(ข้อมูลอ้างอิงจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

คุณวีกิจ คูหะมณี
(เจ้าหน้าที่สำนักงาน ประกันคุณภาพควบสารบรรณ คณะจิตวิทยา)

ผู้ที่มีระยะการมองเห็นแคบตั้งแต่อายุ 13 ปี ซึ่งถือเป็นผู้มีภาวะทุพพลภาพประเภทที่ 1 หรือความพิการทางการมองเห็นผู้ที่ได้ร่วมงานกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมายาวนานถึง 8 ปี คุณวีกิจเล่าให้ฟังว่า การมองเห็นของเขาเปรียบเสมือนการมองผ่านหลอดดูดน้ำที่เล็กและแคบ มองเห็นได้เฉพาะสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น โดยก่อนหน้านี้คุณวีกิจได้มีโอกาสร่วมงานกับบริษัทเอกชนก่อนที่จะสมัครงานที่จุฬาฯ แต่เพราะเขาเลือกที่จะให้โอกาสตนเองได้ลองเปลี่ยนงาน เปลี่ยนสภาพแวดล้อม และสังคมใหม่ๆ เพื่อการเติบโตทางอาชีพ จึงทำให้เขามาถึงจุดนี้ คุณวีกิจยอมรับว่า ระยะการมองเห็นที่แคบนี้ทำให้เขาต้องใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงใช้ระยะเวลาในการทำงานที่มากกว่าคนปกติ แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคที่แท้จริง หากแต่เป็นการปิดกั้นโอกาสของตนเองต่างหาก เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป เราต้องลองเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เสมอเฉกเช่นคนปกติทั่วไป มากไปกว่านั้นเขาโชคดีที่มีเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานที่เข้าใจในข้อจำกัดนี้ และยังเปิดโอกาสให้เขาได้พิสูจน์ตนเอง ได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติงานในฐานะบุคลากรมหาวิทยาลัยคนหนึ่งอย่างเท่าเทียม

คุณวีกิจทิ้งท้ายฝากถึงผู้พิการท่านอื่นๆ ว่า โอกาสมีอยู่ทุกที่ หมั่นสำรวจหาสิ่งที่เราชอบ แล้วหมั่นฝึกฝนสิ่งนั้น จนเกิดเป็นความสามารถและความชำนาญ เมื่อนั้นเราย่อมเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเช่นเดียวกัน ส่วนตัวเขาเอง แม้ในอนาคตอาจจะมีโอกาสที่จะมองไม่เห็น 100%เนื่องจากระยะการมองเห็นที่แคบลง แต่สิ่งหนึ่งที่เขายังคงจะทำเหมือนเดิม นั่นคือ การไม่หยุดที่จะเรียนรู้ และแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ให้ตนเองอยู่เสมอ สุดท้ายนี้ “ไม่ว่าระยะการมองเห็นจะแคบเพียงใด แต่มุมมองและวิสัยทัศน์ต้องกว้างให้มากที่สุด”

 

คุณวิน วิเวกพรมราช
(พนักงานดูแลสถานที่ ประจำคณะรัฐศาสตร์)

ผู้มีภาวะทุพพลภาพประเภทที่ 3 หรือความพิการทางการเคลื่อนไหวทางร่างกาย โดยคุณวินได้ร่วมงานกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนานมากถึง 30 ปี และจะเกษียณในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ คุณวินเล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนทำงานในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ก่อนที่จะย้ายมาเป็นพนักงานดูแลสถานที่ จนเมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้วคุณวินมีอาการป่วยเป็นอัมพฤกษ์ครึ่งซีก จากภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ไม่สามารถควบคุมการใช้งานของร่างกายได้เหมือนเคย มีบ้างที่ต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัว ซึ่งมีบางครั้งที่คุณวินรู้สึกอึดอัดที่ร่างกายที่เป็นของเราไม่เป็นดั่งใจ แต่อย่างไรก็ตามคุณวินขอขอบคุณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ให้โอกาส และใส่ใจในการปรับเปลี่ยนภาระงานให้เข้ากับข้อจำกัดทางด้านร่างกายที่เกิดขึ้น ทำให้คุณวินยังคงสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะบุคลากรคนหนึ่งได้อย่างเต็มความสามารถ
 
ก่อนจากกันคุณวินฝากให้กำลังใจผู้พิการทุกท่านไว้ว่า “ชีวิตคือความไม่แน่นอน ไม่ว่าวันนี้เราเป็นอย่างไร ใช่ว่าในวันข้างหน้าเราจะยังคงเป็นเช่นนั้น สิ่งสำคัญคือ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นขอเพียงแต่ให้เราเข็มแข็ง สู้ต่อไปตราบใดที่ยังมีลมหายใจ”

สุดท้ายนี้ไม่ว่าท่านจะมีข้อจำกัดใด ไม่ว่าทั้งจากร่างกายหรือจิตใจ ขอเพียงแต่จงกล้าที่จะให้โอกาสให้ตนเอง ในการแสดงความสามารถที่ซ่อนอยู่ภายใต้ขีดจำกัดนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเป็นพื้นที่ในการแสดงศักยภาพที่ไร้ซึ่งขีดจำกัด พร้อมต้อนรับทุกท่านเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง มาร่วมกันสร้างอนาคต และผลักดันให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก้าวไปสู่ความเป็นนานาชาติ อย่างเต็มภาคภูมิ

ขจัดอุปสรรคต่อการแสดงขีดความสามารถ อาคารที่เอื้อต่อคนพิการและทุกคน

อาคารที่เอื้อต่อคนพิการและทุกคน

เพราะผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพหรือผู้พิการหวังที่จะสามารถเดินทางหรือการใช้ชีวิตในการทำงานได้อย่างสะดวก  ซึ่งทางเดินสาธารณะหรืออาคารต่าง  ๆ  ส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังไม่รองรับหรือเอื้อประโยชน์  ผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพหรือผู้พิการจักต้องต้องพยายามดิ้นรนให้ตัวเองกระโดดขึ้นมามีคุณภาพชีวิตทัดเทียมกับคนอื่น  จากงานวิจัย   “หลักการออกแบบเพื่อ  ทุกคน  Universal  Design  ปรับเปลี่ยนเพื่อความยั่งยืน”  โดย  รองศาสตราจารย์ไตรรัตน์  จารุทัศน์  หัวหน้าภาควิชาเคหการ  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้กล่าวถึง  Universal  Design  หรือ  การออกแบบเพื่อทุกคน  ว่าเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบสภาพแวดล้อม  และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อทุกคนทุก  ๆ  กลุ่มวัย  ไม่ว่าจะเป็น ผู้สูงอายุ  คนปกติ  และผู้พิการ  สร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงพื้นที่การให้บริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายใจ

ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เห็นความสำคัญกับการจัดและดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพหรือผู้พิการ  ทั้งที่เป็นบุคลากรภายในไม่ว่าจะเป็นนิสิตหรือบุคลากร  รวมทั้งบุคลภายนอก  เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างสะดวกสบาย  โดยเริ่มต้นจากอาคารจามจุรี  5 ที่ได้รับการรองรับว่าเป็น อาคารที่เอื้อต่อคนพิการ พ.ศ. 2563 (รางวัลชมเชย) จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์

หอพักจุฬานิเวศน์ก่อนปรับปรุง

หอพักจุฬานิเวศน์หลังปรับปรุง

และการปรับปรุงหอพักจุฬานิเวศน์ เนื่องจากอาคารเก่าผิดกฎมายซึ่งอาคารที่สร้างมานานจะไม่มีระบบป้องกันอัคคีภัย และ ไม่มีบันไดหนีไฟ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร

      ทั้งนี้ทางจุฬาฯยังไม่หยุดการพัฒนาและปรับปรุงอาคารเพื่อเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพหรือผู้พิการเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและความใส่ใจในการเรียน, การทำงาน และการติดต่อกับจุฬาฯ ต่อไปในอนาคต

(ผังทางลาดและการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ ณ ปัจจุบัน ในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรในทุกภาคส่วน และส่งเสริมให้เกิดความหลากหลาย ความเสมอภาค การอยู่ร่วมกัน และได้รับการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัย จึงได้กำหนดให้สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ดูแลในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรทุกกลุ่ม ดังนั้น หากมีความประสงค์จะแจ้งเรื่องราวต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายสิทธิประโยชน์และการดูแลทรัพยากรมนุษย์ สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ เบอร์โทร 02-218-0263

Disabled Access

ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรามีการผลักดันให้ผู้พิการสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้เทียบเท่ากับบุคลากรคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของนโยบาย สวัสดิการ รวมไปถึงความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยของ เช่น อาคาร ทางเดิน หรือพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ เราจึงมีการพัฒนาโครงสร้าง และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทั่วทั้งมหาวิทยาลัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้พิการสามารถใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น โดยอ้างอิงตามระเบียบและมาตรฐานที่ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้พิการ

โดยเราเรียกพื้นที่เหล่านี้ว่า Disabled Access ซึ่งจะมีอยู่ทั่วมหาวิทยาลัยประกอบไปด้วย ทางข้ามถนน 86 จุด ทางลาดขึ้นทางเท้า 41 จุด จุดต่อเนื่องทางเท้ากับทางข้ามถนน 146 จุด ทางลาดภายในอาคาร 100 แห่ง และห้องน้ำเพื่อผู้พิการภายในอาคารอีก 36 แห่ง

ตัวอย่างของสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้มาตรฐานภายในมหาวิทยาลัย

ลักษณะทางลาดที่ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด

  1. ใช้วัสดุปูพื้นที่ไม่ลื่น
  2. พื้นผิวระหว่างพื้นกับทางลาดต้องมีความต่อเนื่อง ไม่ทำให้สะดุด
  3. ต้องกว้าง 90 เซนติเมตร ขึ้นไป ถ้าเป็นเลนสวนสองทางต้องกว้าง 1.5 เมตร ขึ้นไป
  4. พื้นที่ว่างด้านหน้าของทางลาดต้องเป็นที่ว่าง ยาว 1.5 เมตรขึ้นไป
  5. 5. ทางลาดยาวช่วงละไม่เกิน 6 เมตร แต่ถ้าเกิน 6 เมตรจะต้องมีชานพักยาว 1.5 เมตรขึ้นไป ขั้นระหว่างช่วง

ทางลาดที่ไม่มีผนังกั้น ต้องยกขอบจากพื้น 10 เซนติเมตรขึ้นไป และต้องมีราวจับ หรือราวกันตก

ลักษณะของราวกันตก

  1. ทำด้วยวัสดุเรียบ แข็งแรง ไม่เป็นอันตรายต่อการจับ ไม่ลื่น ไม่มีเหลี่ยม
  2. เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร
  3. สูงจากพื้น 75-90 เซนติเมตร (วัดจากพื้นทางลาดจนถึงราวจับด้านบนสุด)
  4. ราวจับฝั่งผนัง ต้องห่างจากผนัง 4 เซนติเมตร ขึ้นไป ผนังบริเวณราวจับจะต้องเรียบ
  5. ราวจับจะต้องยาวต่อเนื่องกัน ถ้าไม่สามารถทำให้ยาวต่อเนื่องกันได้ ต้องมีระยะห่างไม่เกิน 5 เซนติเมตร

ลักษณะห้องน้ำผู้พิการตามมาตรฐาน

1.ต้องมีพื้นที่ว่างเพื่อให้ Wheel Chair หมุนกลับตัวได้ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 เมตร ขึ้นไป
2.วัสดุปูพื้นต้องไม่ลื่น และพื้นในห้องน้ำต้องเสมอกับพื้นภายนอก
3.ข้างโถส้วมฝั่งที่ติดผนัง ต้องมีราวจับสำหรับพยุงตัว ทั้งแนวนอน และแนวดิ่ง (ราวทั้งสองอาจจะเป็นราวต่อเนื่องกันก็ได้)

   3.1. ราวแนวนอน ต้องสูง 65-70 เซนติเมตร โดยปลายของราวต้องยื่นออกมาโดยวัดจากหน้าโถส้วมอีก 25-30 เซนติเมตร
   3.2. ราวแนวดิ่ง ยื่นออกมาต่อจากส่วนปลายของราวแนวนอน โดยยาวขึ้นไปจากปลายแนวนอน 60 เซนติเมตร ขึ้นไป

4.ข้างโถส้วมฝั่งที่ไม่ติดผนัง มีราวจับแนวราบ หรือแนวดิ่งแบบพับเก็บได้ โดยเมื่อกางออกต้องล็อคได้ง่าย ยาว 55 เซนติเมตร ขึ้นไป ห่างจากขอบโถ 15-20 เซนติเมตร
5.มีระบบสัญญาณให้คนภายนอกแจ้งเหตุให้แก่ผู้พิการ และระบบให้ผู้พิการแจ้งเหตุเอง หรือเรียกคนช่วยได้
6.ประตูเป็นบานเลื่อน หรือบานเปิด ต้องเปิดค้าง 90 องศา มีราวจับแนวนอน มีป้ายผู้พิการ

นอกจากสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการที่มีอยู่ทั่วมหาวิทยาลัยแล้ว Sidewalk Continuous level หรือ ระดับทางเท้า ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ยังถูกประเมินและจัดไว้ในระดับปานกลาง – สูงสุด ซึ่งหมายความว่าเป็นทางเท้าที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก และมีสิ่งกีดขวางน้อย ลดอุปสรรคในการใช้งานแก่ทั้งผู้พิการ และบุคคลทั่วไป

Copyright © 2025 Office of Human Resources Management, Chulalongkorn University. All Rights Reserved.

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เราจะใช้คุกกี้เมื่อท่านได้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยคุกกี้ที่จำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ได้ สำหรับคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อพัฒนาเว็บไซต์และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่จำเป็นคือสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ ทำให้คุณสามารถใช้งานและเรียกดูเว็บไซต์ได้ตามปกติ คุณไม่สามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ในระบบของเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ของเรา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน

บันทึกการตั้งค่า