EN TH
EN TH
Edit Template
Remuneration and Benefits

Remuneration and Benefits

อัตราค่าตอบแทน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักถึงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของบุคลากร จึงมีการจ้างงานด้วยค่าแรงที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการดำรงชีพในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยและเป็นพื้นที่ใจกลางเมืองโดยค่าจ้างขั้นต่ำของกรุงเทพฯ ตามกฎหมายแรงงานมีอัตราค่าจ้าง 363 บาท/วัน หรือ 10,890 บาท/เดือน (พื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ ณ 1 พ.ค. 67) ในขณะที่ค่าจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยของจุฬาฯ มีอัตราค่าจ้างเริ่มต้นที่ 19,500 บาท/เดือน

ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของกรุงเทพฯ และอัตราค่าจ้างขั้นเริ่มต้นของจุฬาฯ จะพบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ้างบุคลากรด้วยค่าจ้างที่มากกว่าค่าจ้างขั้นต่ำเกือบ  2  เท่า   แสดงให้เห็นว่า  มหาวิทยาลัยไม่เพียงแต่จ้างบุคลากรด้วยค่าจ้างที่   ‘พ้น’   จากค่าจ้างขั้นต่ำเท่านั้น ทว่ายังคำนึงถึงค่าครองชีพของบุคลากรในการใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมือง  จึงมีการจ้างพนักงานด้วยค่าจ้างที่สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำในระดับที่ ‘เหมาะสมและเพียงพอ’  เพื่อให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้จัดสวัสดิการต่าง ๆ สำหรับบุคลากรในรูปแบบที่หลายหลาย และครอบคลุมต่อการดำรงชีพ ทั้งด้านสุขภาพ ด้านการเงิน การศึกษา ที่พัก และด้านอื่น ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรของมหาวิทยาลัย

ทั้งนี้    การจ่ายอัตราค่าจ้างหรือสวัสดิการนั้น    เป็นไปตามระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    ว่าด้วยเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย กำหนดให้การพิจารณาเงินเดือนแรกบรรจุพิจารณาจากปัจจุบันต่าง  ๆ  เช่น  คุณวุฒิ  ทักษะ  ความรู้ความสามารถ  ประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่บรรจุและแต่งตั้ง สาขาความขาดแคลน และความต้องการของตลาดแรงงาน โดยไม่นำเรื่อง  เชื้อชาติ ศาสนา อายุ หรือความแตกต่างทางเพศ  มาเป็นตัวกำหนดในการพิจารณา ซึ่งเป็นไปตามนโยบายความเท่าเทียมด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งมหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ยช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ ดังนี้

Gender Pay Gap Report

ชื่อไฟล์รายละเอียดจำนวนดาว์นโหลดวันที่เพิ่มไฟล์Download
Gender Pay Gap Report 2023413-05-2025 DownloadPreview
Gender Pay Gap Report 2024313-05-2025 DownloadPreview

สวัสดิการและสิทธิประโยชน์

มหาวิทยาลัยมีสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้กับพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้

สวัสดิการด้านสุขภาพ
  • ประกันสุขภาพแบบกลุ่ม, สวัสดิการยืดหยุ่นด้านสุขภาพ และประกันชีวิตรายเดี่ยว
    มหาวิทยาลัยจัดสวัสดิการด้านประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ทันตกรรม และสวัสดิการยืดหยุ่นด้านสุขภาพ (มี 7 รายการเกี่ยวกับการส่งเสริมและดูแลสุขภาพให้สามารถเบิกจ่ายได้) ในวงเงินรวม 11,000 บาท/คน และมีแผนทางเลือกให้บุคลากรสามารถจัดสรรความคุ้มครองด้านประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ และทันตกรรม ให้กับครอบครัว และคู่รัก (หรือคู่ชีวิตที่เป็นเพศเดียวกัน) ในอัตราพิเศษ และประกันชีวิตรายเดี่ยว โดยรับผิดชอบค่าเบี้ยประกันภัยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยและพนักงานรักษาความปลอดภัยจนครบอายุ 60 ปี (เกษียณอายุ)

    ประกาศจุฬาฯ เรื่อง การยื่นข้อเสนอโครงการประกันชีวิต – อุบัติเหตุ – สุขภาพ แบบกลุ่มแก่บุคลากรและครอบครัว ปี 2564 – 2565

  • กองทุนประกันสังคม
    มหาวิทยาลัยได้จัดทำประกันสังคม เพื่อให้คุ้มครองด้านการรักษาพยาบาล และเป็นหลักประกันในการดำรงชีวิตให้กับผู้ประกันตน และรับผิดชอบการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่าง ๆ หรือให้ประโยชน์ทดแทนกรณีอื่น ๆ เพิ่มเติม
    ซึ่งพนักงานมหาวิทยาลัยจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม 5% ของเงินเดือน (จ่ายเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 750 บาท) ในฐานะผู้ประกันตน
  • กองทุนเงินทดแทน
    กรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้แก่มหาวิทยาลัยจะมีทุนในการจ่ายเงินทดแทนตามเกณฑ์และอัตราที่กำหนด
  • เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล กรณีอุบัติเหตุจากการทำงาน
    กรณีการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานและไม่สามารถเบิกจ่ายจากกองทุนประกันสังคมได้ และ/หรือนอกเหนือจาก
    การคุ้มครองของการประกันกลุ่ม มหาวิทยาลัยจะพิจารณาเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล โดยพิจารณาเบิกจ่ายตามเกณฑ์ของทางราชการ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี
    มหาวิทยาลัยจัดให้มีการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งดูแลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนตามที่จำเป็นตามฤดูกาล เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
  • ศูนย์กีฬาและนันทนาการ
    มีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมทั้งอุปกรณ์กีฬาสำหรับการออกกำลังกายและเล่นกีฬา ซึ่งมีสนามกีฬาประเภทต่าง ๆ ได้แก่ สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์ สนามเทนนิส สนามกีฬาในร่ม สนามพัตกอล์ฟ สนามวอลเลย์บอลชายหาดสระว่ายน้ำ 25 เมตร ฟิตเนสกลางแจ้ง สนามจันทนยิ่งยง และสนามจินดารักษ์ เป็นต้น เพื่อรองรับ Life style เทรนด์คนรักสุขภาพผู้ชื่นชอบการออกกำลังกาย และเล่นกีฬาได้อย่างหลากหลายทั้งส่วนบุคคลและหมู่คณะโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีสิทธิพิเศษสำหรับครอบครัวของพนักงานมหาวิทยาลัยในการเข้าใช้บริการศูนย์กีฬาและนันทนาการได้ในอัตราพิเศษ
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานมหาวิทยาลัยขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมระยะยาว มีเงินออมเมื่อเกษียณอายุหรือลาออกจากงาน เป็นหลักประกันของครอบครัวกรณีออกจากงานหรือเสียชีวิต และเป็นนิติบุคคลที่ให้สิทธิประโยชน์ ตลอดจนผลตอบแทนต่าง ๆ แก่พนักงานมหาวิทยาลัย 
    • อายุงานน้อยกว่า 5 ปี : เงินสะสม 3-15% ของเงินเดือน / เงินสมทบ 3% ของเงินเดือน
    • อายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป : เงินสะสม 5-15% ของเงินเดือน / เงินสมทบ 5% ของเงินเดือน
      ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดใบสมัครสมาชิกกองทุนและดูข้อมูลเพิ่มเติม ได้ทาง http://www.hrm.chula.ac.th หัวข้อ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • เงินกู้สงเคราะห์ของมหาวิทยาลัย
    เช่น บ้านพร้อมที่ดิน ไถ่ถอนจำนอง ต่อเติมซ่อมแชม ซื้อห้องชุด ปลูกสร้าง ทำงานในจุฬาฯ มาแล้ว 3 ปีต่อเนื่อง คิดดอกเบี้ยร้อยละ 3 กู้ไม่เกิน 20 ปี
    (กรณีกู้ซื้ออาคารพร้อมที่ดิน/ห้องชุดให้กู้ไม่เกิน ร้อยละร้อยของราคาประเมิหลักทรัพย์แต่ราคาต้องไม่เกิน 3,000,000 บาท)
    (กรณีกู้เพื่อไถ่ถอนอาคารพร้อมที่ดิน/ห้องชุด จะประเมินให้ยอดหนี้ที่เหลือเท่านั้นและต้องไม่เกิน 3,000,000 บาท)
  • เงินกู้ธนาคารเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยและอเนกประสงค์
    ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารทหารไทย โดยบุคลากรสามารถขอหนังสือผ่านสิทธิ์ผ่านระบบ Fiori ของมหาวิทยาลัย เพื่อการติดต่อกับธนาคารในวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้แก่ กู้ซื้อบ้าน อาคารชุด เงินกู้อเนกประสงค์
  • สมาชิก ช.พ.ค. / ช.พ.ส.
    มหาวิทยาลัยดำเนินการตามกระทรวงศึกษาธิการหักเงินนำส่ง
  • การศึกษาบุตรของบุคลากรในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการสามารถใช้สิทธิเพื่อนำบุตรเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ทั้งฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยม
  • เงินอุดหนุนการศึกษาบุตรบุคลากร
    พนักงานมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้นำบุตรเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี สามารถขอรับสวัสดิการ ดังนี้
    • ระดับการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คนละ 6,000 บาท ต่อปีการศึกษา ต่อคน
    • ระดับการศึกษาตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในสายสามัญและสายอาชีพ คนละ 7,200 บาท ต่อปีการศึกษา ต่อคน

มหาวิทยาลัยจัดตั้งหอพักขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ และเพื่อช่วยเหลือเรื่องการเดินทางมาปฏิบัติงานให้แก่พนักงานที่ไม่มีที่พักในกรุงเทพมหานคร หรือมีที่พักในกรุงเทพมหานครแต่ไม่สะดวกต่อการเดินทางมาปฏิบัติงาน โดยมีสิทธิพักอาศัยได้คราวละไม่เกินสองปี และภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาการเข้าพักอาศัย

  • หอพักวิทยนิเวศน์
    อาคาร 14 ชั้น (ห้องปรับอากาศ) แบบรายเดือน
    สำหรับบุคลากร P8 ขึ้นไป ไม่รวมวิสาหกิจและพนักงานวิสามัญ
    ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • หอพักจุฬานิเวศน์ (อยู่ระหว่างการปรับปรุง)
    อาคาร 4 ชั้น (ห้องพัดลม) แบบรายเดือน / ปี
    สำหรับบุคลากร P8 ขึ้นไป ไม่รวมวิสาหกิจและพนักงานวิสามัญ
    ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • หอพักจุฬานิวาส
    อาคาร 15 ชั้น (196 ห้อง) แบบรายเดือน
    สำหรับบุคลากร P9 เฉพาะเจ้าหน้าที่ รปภ. พนักงานขับรถ นักการภารโรง คนงาน
    ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • บัตรบุคลากร
    เพื่อเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย อาทิ การเข้าใช้สถานที่ การยืมหนังสือ เป็นต้น
  • CUNET Authen
    สำหรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต (WIFI) และเพื่อการเข้าใช้ระบบต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
  • สำนักงานวิทยทรัพยากร (หอสมุดกลาง)
    เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และวิชาการต่าง ๆ ซึ่งพนักงานสามารถเข้าไปค้นคว้าข้อมูล ยืมหนังสือ หรือ เข้าใช้สถานที่ เช่น ห้องประชุม Co-working space
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์
    เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก
    เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย
    เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดีเรกคุณาภรณ์
  • เข็มทองคำเกียรติคุณ
    สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป จะได้รับเข็มทองคำเกียรติคุณเพื่อเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติและเป็นบำเหน็จแห่งความซื่อสัตย์ และมอบให้ในปีเกษียณอายุ (ก่อนวันเกษียณอายุ 30 กันยายน ของปี) หรือพ้นสภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากถูกยุบเลิกตำแหน่ง ถึงแก่กรรม หรือลาออก
  • การดำเนินการจัดการงานศพ
    มหาวิทยาลัยมีสวัสดิการช่วยเหลืองานศพให้กับพนักงาน รวมทั้งครอบครัว ได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส และบุตร ในด้านเงินช่วยเหลืองานศพ ด้านค่าพวงหรีดหรือสิ่งของอื่น ๆ และด้านการจัดการยานพาหนะไปงานศพ
    • เงินช่วยเหลืองานศพ รายละไม่เกิน 10,000 บาท
    • ค่าพวงหรีดหรือสิ่งของอื่นๆ ชิ้นละไม่เกิน 3,000 บาท
    • การจัดการยานพาหนะไปงานศพ เบิกได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 5,000 บาท

Copyright © 2025 Office of Human Resources Management, Chulalongkorn University. All Rights Reserved.

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เราจะใช้คุกกี้เมื่อท่านได้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยคุกกี้ที่จำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ได้ สำหรับคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อพัฒนาเว็บไซต์และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่จำเป็นคือสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ ทำให้คุณสามารถใช้งานและเรียกดูเว็บไซต์ได้ตามปกติ คุณไม่สามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ในระบบของเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ของเรา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน

บันทึกการตั้งค่า