EN TH
EN TH
Edit Template
กองทุนเงินทดแทน

กองทุนเงินทดแทน

กองทุนเงินทดแทน (Workmen' s Compensation Fund)

กองทุนเงินทดแทน คือ กองทุนที่ให้ความคุ้มครองและดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตราย สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหายจากการทำงาน หรือปกป้องรักษาทรัพย์สินของนายจ้าง (Work-Related Accidents)  และเจ็บป่วย หรือเป็นโรคจากการทำงาน (Occupational & Work-Related Diseases) โดยกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบกองทุนฝ่ายเดียว (Compulsory Insurance) เพื่อจัดเก็บไว้สำรองจ่ายเป็นค่าทดแทน สำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน กรณีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้เกิน 3 วัน ติดต่อกัน 

สิทธิประโยชน์ในกองทุนเงินทดแทน

ค่ารักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน

  • กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล
    เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 50,000 บาท 
  • กรณีที่ค่ารักษาพยาบาลเกิน 50,000 บาท ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง
    ตามความจำเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 100,000 บาท
  • กรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายเพิ่มอีก 300,000 บาท ไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล
    เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ รวมค่ารักษาพยาบาลทั้ง 2 กรณีแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท 
  • กรณีค่ารักษาพยาบาลทุกกรณีไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวเท่าที่จ่ายจริง
    ตามความจำเป็นเพิ่มขึ้น แต่รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 1,000,000 บาท โดยให้คณะกรรมการการแพทย์พิจารณา และคณะกรรมการให้ความเห็นชอบ (ในกรณีลูกจ้างเป็นผู้ป่วยใน มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาลและค่าบริการทั่วไป ให้นายจ้างจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวันละ 1,300 บาท)

* เว้นแต่ ลูกจ้างเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรกจนสิ้นสุดการรักษา หรือกรณีมีความจำเป็นหรือมีเหตุสมควรที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรก แต่ภายหลังได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล

หมายเหตุ  

  1. ลูกจ้างเข้ารักษาในสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนไม่ต้องจ่ายค่ารักษา
  2. ถ้าเข้ารักษาในสถานพยาบาลอื่น ให้ทดรองจ่ายค่ารักษาไปก่อนแล้วเบิกคืนจากกองทุนเงินทดแทน ภายใน 90 วัน
  3. นายจ้างมีหน้าที่ส่งแบบแจ้งการประสบอันตราย (กท.16) พร้อมแบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารักษาพยาบาล (กท. 44) ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่นายจ้างทราบ


ค่าทดแทนรายเดือน
 

เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จนเป็นเหตุให้มีการหยุดงาน สูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน ทุพพลภาพ ตายหรือสูญหาย จะได้รับค่าทดแทนรายเดือน 70% ของค่าจ้างรายเดือน แต่ไม่เกิน 14,000 บาทต่อเดือน ตามกรณีดังนี้ 

  • แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่วันแรก รวมไม่เกิน 1 ปี 
  • สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายไม่เกิน 10 ปี 
  • ทุพพลภาพตลอดชีวิต 
  • ถึงแก่ความตายหรือสูญหาย 10 ปี และค่าทำศพ 


ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน
 

  • ค่าใช้จ่ายในการกายภาพบำบัดเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 24,000 บาท 
  • ค่าผ่าตัดและบำบัดรักษาไม่เกิน 40,000 บาท (หากจำเป็นต้องจ่ายเพิ่มรวมกันแล้ว 
    ต้องไม่เกิน 180,000 บาท) 
  • ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูไม่เกิน 160,000 บาท 
  • ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพไม่เกิน 24,000 บาท 


ค่าทำศพ
 

  • จ่ายตามที่กระทรวงกำหนด อัตราตามที่กำหนดในกระทรวง  
  • ผู้จัดการศพจะได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท 

ขั้นตอนการเข้ารับรักษาพยาบาล

กรณีเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ในความตกลง
ให้นายจ้างส่งผู้ประสบอันตรายหรือผู้เจ็บป่วยเข้ารับการรักษา โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน 

กรณีเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในความตกลง(เอกชนและรัฐบาล)
นายจ้างหรือลูกจ้างจะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาก่อนแล้วนำใบเสร็จและใบรับรองแพทย์มาเบิกภายหลัง 

ระยะเวลาในการยื่นเรื่อง
นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจ แจ้งแบบ กท.16 ไปยังสำนักงานประกันสังคมภายใน 15 วัน หรือลูกจ้างสามารถยื่นขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน หรือหากการเจ็บป่วยเกิดขึ้นหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างให้ยื่นคำร้องภายใน 2 ปี 

เอกสารและหลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นขอรับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน 

  • แบบแจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย (กท.16) 
  • แบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (สำเนา กท.44 กรณีที่ส่งตัวไปยังสถานพยาบาล) 
  • ใบรับรองแพทย์ (กท.16/1) หรือใบรับรองแพทย์ของสถานพยาบาล 
  • ใบเสร็จรับเงินกรณีที่มีการสำรองจ่ายไปก่อน  
  • สำเนาบัตรประชาชน  
  • แบบลงเวลาปฎิบัติงาน 
  • กรณีการประสบเหตุอันตรายที่ไม่ชัดเจน เช่น อุบัติเหตุรถยนต์ เกิดเหตุนอกสถานที่ ต้องขอหลักฐานเพิ่มเติม เช่น บันทึกประจำวันตำรวจ แผนที่เกิดเหตุ ใบรับรองการทำงาน เป็นต้น 
  • กรณีเสียชีวิตหรือสูญหาย ต้องมีหลักฐานการเสียชีวิต ใบชันสูตรศพ ใบมรณบัตร 

คำถามที่พบบ่อย

ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำงาน แม้ว่านายจ้างจะยังไม่แจ้งขึ้นทะเบียน

  1. ได้รับอันตรายจากการทำงาน
  2. เจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการทำงาน
  3. สูญหายไปในระหว่างทำงาน และมีเหตุให้เชื่อได้ว่าลูกจ้างถึงแก่ความตายเพราะประสบเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน

นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทนเพียงฝ่ายเดียว โดยจะมีการเรียกเก็บเงินจากนายจ้างป็นรายปี (จ่ายปีละครั้ง)

ทั้งปีรวมกันคนละไม่เกิน 240,000 บาทต่อปี คูณกับอัตราเงินสมทบของประเภทกิจการระหว่างอัตรา 0.2-1.0% โดยนางจ้างแต่ละประเภทจะจ่ายเงินสมทบในอัตราที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการเสี่ยงภัยตามรหัสประเภทกิจการของนายจ้าง

Copyright © 2025 Office of Human Resources Management, Chulalongkorn University. All Rights Reserved.

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เราจะใช้คุกกี้เมื่อท่านได้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยคุกกี้ที่จำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ได้ สำหรับคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อพัฒนาเว็บไซต์และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่จำเป็นคือสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ ทำให้คุณสามารถใช้งานและเรียกดูเว็บไซต์ได้ตามปกติ คุณไม่สามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ในระบบของเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ของเรา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน

บันทึกการตั้งค่า