EN TH
EN TH
Edit Template
การพัฒนากลุ่มเครือข่ายวิชาชีพ

การพัฒนากลุ่มเครือข่ายวิชาชีพ

การพัฒนากลุ่มเครือข่ายวิชาชีพ

ประวัติการจัดตั้งเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาชีพสายปฏิบัติการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

           มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรในทุกระดับ โดยการจัดการอบรมพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นทางการ ให้ครอบคลุมในทุกด้านที่สำคัญ เพื่อให้ คณาจารย์และบุคลากรสายปฏิบัติการ มีความรู้ ความสามารถ ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มกำลัง เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเป็นจุดเริ่มต้นการจัดตั้งเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาชีพสายปฏิบัติการ 

          ในการสัมมนาผู้อำนวยการในสังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัยและเลขานุการคณะ สถาบันฯ เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบ Competency และ Individual Development Plan (IDP) ของบุคลากรสายปฏิบัติการ ระหว่างวันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2552 ณ โรงแรมวรบุรี อโยธยา คอนเวนชัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มีการกำหนดหัวข้อหนึ่งในการประชุมครั้งนั้น คือ แนวทางการพัฒนาเครือข่ายวิชาชีพ ซึ่งที่ประชุมได้ระดมความคิดเห็นและได้ข้อสรุปว่า เห็นสมควรให้มีการจัดตั้งเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาชีพสายปฏิบัติการ ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งต่อมา มหาวิทยาลัย โดยท่านอธิการบดี (ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล) รองอธิการบดี (รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เจษฎา แสงสุพรรณ) และผู้ช่วยอธิการบดี (นายเกรียงศักดิ์ บูรณปัทมะ) ได้สนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาชีพสายปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 

  1. สร้างเครือข่ายการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรสายปฏิบัติการในแต่ละวิชาชีพให้มีการสื่อข้อความอย่างรวดเร็วและทั่วถึง 
  2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานซึ่งกันและกัน รวมทั้งสร้างความเข้าใจในนโยบาย ระเบียบ แนวปฏิบัติ ปัญหา อุปสรรคและวิธีการแก้ไขที่เกี่ยวข้องในแต่ละวิชาชีพ 
  3. พัฒนาบุคลากรในแต่ละเครือข่ายวิชาชีพให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะตามความจำเป็นต้องการของวิชาชีพนั้นๆ อย่างทั่วถึง และได้รับการยอมรับเป็นมืออาชีพ 
  4. ร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรในแต่ละวิชาชีพ (Occupational Development Roadmap) ไว้เป็นบรรทัดฐานสำหรับตำแหน่งในระดับต่างๆ 
  5. ร่วมกันเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงกระบวนการทำงานหรือแนวปฏิบัติอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพนั้นๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 
  6. เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรในแต่ละวิชาชีพและต่างวิชาชีพ 

ในระยะเริ่มแรก ปี พ.ศ. 2553 – 2555 มหาวิทยาลัยได้มีการจัดตั้งเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาชีพสายปฏิบัติการ วิชาชีพต่างๆ ดังนี้ 

ปี พ.ศ. 2553 

     1.วิชาชีพบริหารจัดการระดับกลาง  

     2.วิชาชีพการเงิน  

     3.วิชาชีพการบัญชี 

     4.วิชาชีพการพัสดุ 

     5.วิชาชีพแผนและงบประมาณ 

     6.วิชาชีพบริการวิชาการและวิจัย 

     7.วิชาชีพวิชาการและหลักสูตร 

     8.วิชาชีพกิจการต่างประเทศ 

     9.วิชาชีพบุคคล 

     10.วิชาชีพสารบรรณ 

     11.วิชาชีพอาคารสถานที่และยานพาหนะ 

     12.วิชาชีพโสตทัศนศึกษา 

     13.วิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ 

     14.วิชาชีพห้องสมุด   (จัดตั้งมาก่อนปี พ.ศ. 2553) 

ปี พ.ศ. 2554 

     15. วิชาชีพประชาสัมพันธ์ 

     16.วิชาชีพทะเบียนและประมวลผล 

     17. วิชาชีพกิจการนิสิต 

ปี พ.ศ. 2555 

     18. วิชาชีพบริหารคุณภาพองค์กร 

ปัจจุบัน บางเครือข่ายฯ ได้มีการเปลี่ยนชื่อตามความเหมาะสม โดยมีเครือข่ายวิชาชีพรวมทั้งสิ้นจำนวน 18 เครือข่าย และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ประจำปี 2567 ดังนี้ 

  1. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพบริหารจัดการระดับกลาง ด้านบริหาร 
  2. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพการเงิน 
  3. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพการบัญชี 
  4. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพการพัสดุ 
  5. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพแผนและงบประมาณ 
  6. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพการสนับสนุนวิจัยเพื่อมุ่งสร้างผลกระทบ 
  7. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพบริหารจัดการระดับกลาง ด้านวิชาการ  
  8. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ 
  9. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพบุคคล 
  10. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพสารบรรณ 
  11. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพอาคารสถานที่และยานพาหนะ 
  12. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพโสตทัศนศึกษา 
  13. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ 
  14. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพห้องสมุด 
  15. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพประชาสัมพันธ์ 
  16. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพทะเบียน 
  17. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพกิจการนิสิต 
  18. คำสั่งแต่งตั้งกรรมการเครือข่ายวิชาชีพบริหารคุณภาพองค์กร 

การดำเนินงานของเครือข่ายวิชาชีพ

มหาวิทยาลัย โดยกองทุนเพื่อการพัฒนาบุคลากร ได้สนับสนุนกิจกรรมและงบประมาณการดำเนินงานของเครือข่ายฯ วิชาชีพ โดยกำหนดกิจกรรมหลักในการดำเนินงานของเครือข่ายฯ คือ 

  1. จัดประชุมคณะกรรมการเครือข่ายฯ ประจำเดือน เพื่อใช้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรึกษาหารือ เสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมการฝึกอบรมพัฒนาให้กับสมาชิก และอื่นๆ ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเครือข่ายฯ 
  2. จัดการฝึกอบรม สัมมนา เพื่อพัฒนาบุคลากรของเครือข่ายฯ โดยเน้นการพัฒนาตามสมรรถนะในแต่ละวิชาชีพ (Functional Competency) 

การพัฒนาต่อเนื่องเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาชีพสายปฏิบัติการ 

เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาชีพ สายปฏิบัติการ ให้เกิดการพัฒนาบุคลากร เกิดการพัฒนางานที่เน้นคุณค่าในมุมมองของผู้รับบริการ เกิดการทำงานเป็นทีมระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย เกิดการเรียนรู้ของบุคลากรทุกระดับและเกิดการทำงานที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ เชื่อมโยงการทำงานของระบบงานต่าง ๆ โดยลดความสูญเปล่า จึงเห็นสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาชีพ สายปฏิบัติการ วิชาชีพบริหารจัดการระดับกลางด้านบริหาร โดยให้มีขอบข่ายภาระหน้าที่ คือ 
     1. สร้างเครือข่ายการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรสายปฏิบัติการให้รวดเร็วและทั่วถึง 
     2. จัดให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานเพิ่มความเป็นมืออาชีพในแต่ละงาน 
     3. สร้างความเข้าใจในนโยบาย ระเบียบ เร่งปรับปรุงแก้ไขปัญญา ในแต่ละงาน 
     4.  ร่วมกันกำหนด Occupational Development Roadmap ไว้เป็นบรรทัดฐานสำหรับแต่ละงานหรือวิชาชีพในระดับต่างๆ 
     5.  ร่วมรับนโยบายการบริหารงานอย่างโปร่งใสไปปฏิบัติและถ่ายทอดในส่วนงาน/หน่วยงาน พร้อมทั้งพัฒนาปรับปรุงการทำงานให้เกิดความโปร่งใสยิ่งขึ้น 
     6.  ร่วมปฏิบัติตามนโยบายและร่วมพัฒนาการดำเนินงานที่เอื้อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรลุพันธกิจด้วยกระบวนการที่โปร่งใส 
     7.  ร่วมกันปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 
     8.  สร้างเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรและความผูกพันต่อองค์กร 
     9.  ภาระหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและหรือตามที่ได้รับมอบหมาย 

ประธานเครือข่ายวิชาชีพ

ลำดับที่ 

เครือข่าย 

ชื่อ- นามสกุล 

หน่วยงาน 

1 

บริหารจัดการระดับกลาง ด้านบริหาร 

ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสำนักงานวิทยทรัพยากร (นางอังคณา บุญเลิศ) 

สำนักงานวิทยทรัพยากร 

2 

แผนและการงบประมาณ 

ผู้อำนวยการสำนักบริหารแผนและการงบประมาณ (นางสาวเปี่ยมปีติ ช่างสาร) 

สำนักบริหารแผนและการงบประมาณ 

3 

บริหารคุณภาพองค์กร 

ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อน (นางจินตนา หัตถโกศล) 

สำนักยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อน 

4 

การเงิน 

ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน (นายเมธี จันทรประเสริฐ) 

สำนักบริหารการเงิน การบัญชี และการพัสดุ 

5 

การบัญชี 

ผู้อำนวยการฝ่ายการบัญชี

สำนักบริหารการเงิน การบัญชี และการพัสดุ 

6 

การพัสดุ 

ผู้อำนวยการฝ่ายการพัสดุ (นางสาวธนพร นิตรา) 

สำนักบริหารการเงิน การบัญชี และการพัสดุ 

7 

บริหารจัดการระดับกลาง ด้านวิชาการ 

รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริหารวิชาการ (อาจารย์ นายแพทย์ วรพล จรูญวณิชกุล) 

สำนักบริหารวิชาการ 

8 

การสนับสนุนวิจัยเพื่อมุ่งสร้างผลกระทบ

ผู้อำนวยการสำนักบริหารวิจัย 

สำนักบริหารวิจัย 

9 

บุคคล 

ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ (นางสาวนุษรา ปานกรด) 

สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ 

10 

สารบรรณ 

ผู้อำนวยการศูนย์บริหารกลาง (นางพรประภา  เสวกวิหารี) 

ศูนย์บริหารกลาง 

11 

อาคารสถานที่และยานพาหนะ 

ผู้อำนวยการสำนักบริหารระบบกายภาพ (นางบังอร เรืองธรรมโชติ) 

สำนักบริหารระบบกายภาพ 

12 

เทคโนโลยีสารสนเทศ 

ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ (นายรุ่งโรจน์ กิตติถาวรกุล) 

สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ 

13 

วิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ 

ผู้อำนวยการสำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ

สำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ 

14 

กิจการนิสิต 

ผู้อำนวยการสำนักบริหารกิจการนิสิต (นางยุวรินทร์ มัลลิจารุศักดิ์) 

สำนักบริหารกิจการนิสิต 

15 

ประชาสัมพันธ์ 

ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารองค์กร  (นางสาวธาริณี ไชยประพาฬ) 

ศูนย์สื่อสารองค์กร  

16 

ทะเบียน 

ผู้อำนวยการสำนักงานการทะเบียน (ศ.ดร.มานะ ศรียุทธศักดิ์) 

สำนักงานการทะเบียน 

17 

ห้องสมุด 

ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร (รศ.ดร.อมร  เพชรสม) 

สำนักงานวิทยทรัพยากร 

18 

โสตทัศนศึกษา 

ผู้อำนวยการฝ่ายบริการข้อมูลสารสนเทศ (นางระเบียบ แสงจันทร์) 

สำนักงานวิทยทรัพยากร 

ติดต่อสอบถาม

ฝ่ายการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์
อาคารจามจุรี 5 ชั้น 5  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

เครือข่ายวิชาชีพ ผู้รับผิดชอบประสานงานของฝ่ายการเรียนรู้ฯ 
  • โสตทัศนศึกษา 
  • อาคารสถานที่และยานพาหนะ
  • แผนและการงบประมาณ 

นางสาวปวิตรา มาดวง (อาย)
02-218-0186
 

Pawitra.S@chula.ac.th 

  • วิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ 
  • บริหารคุณภาพองค์กร 
  • ประชาสัมพันธ์ 

นางสาวขวัญจิรา ขวัญเพ็ชร (ม่งหลิน)
02-218-0372
 

Kwunjira.K@chula.ac.th 

  • บุคคล
  • กิจการนิสิต 
  • ห้องสมุด 

นายณภพ จิตรประสงค์ (คริส)
02-218-0374
 

Nabhop.J@chula.ac.th 

  • การบัญชี 
  • การเงิน 
  • การพัสดุ

 

  • บริหารจัดการระดับกลาง ด้านวิชาการ
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ 
  • การสนับสนุนวิจัยเพื่อมุ่งสร้างผลกระทบ 

 

  • บริหารจัดการระดับกลาง ด้านบริหาร
  • สารบรรณ
  • ห้องสมุด

นางสาวกนกนภัส สายเนตร (อุ๋งอิ๋ง)
02-218-0378
 
Kanoknaphat.N@chula.ac.th 

 
นายเชิญบุญ ทังสุบุตร (ต้นกล้า)
02-218-0373
Chernboon.T@chula.ac.th

 

นายณัฐพงษ์ เกษรวิจิตร์ (แพตตี้)

02-218-0167
Natthapong.keso@chula.ac.th

Copyright © 2025 Office of Human Resources Management, Chulalongkorn University. All Rights Reserved.

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เราจะใช้คุกกี้เมื่อท่านได้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยคุกกี้ที่จำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ได้ สำหรับคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ เก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อพัฒนาเว็บไซต์และเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่จำเป็นคือสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ ทำให้คุณสามารถใช้งานและเรียกดูเว็บไซต์ได้ตามปกติ คุณไม่สามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ในระบบของเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ของเรา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน

บันทึกการตั้งค่า