EN TH
EN TH
Edit Template

GPF / SPEE

กองทุนบำเหน็จบำนาญ กบข.

้าราชการที่เข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 ทุกคนต้องเป็นสมาชิก กบข. ตามที่พระพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 กำหนด ส่วนข้าราชการที่เข้ารับราชการก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 มีสิทธิเลือกเป็นสมาชิกตามความสมัครใจ ปัจจุบัน สมาชิก กบข 


กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(Government Pension Fund) คือกองทุนที่จัดขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 (พระราชบัญญัติ กบข.) Website กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ http://www.gpf.or.th 

ัตถุประสงค์ 

  • เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากข้าราชการ 
  • ส่งเสริมการออมของสมาชิก 
  • จัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก 


กบข. มีสถานะเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ
กบข. และมีหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไป 

เมื่อปี 2549 ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 เพื่อให้ครอบคลุมสิทธิของผู้ที่เคยเป็นข้าราชการสมาชิก กบขใน 2 กรณี ดังต่อไปนี้ 

  • กรณีที่ 1 สมาชิก กบข. ที่โอนย้ายไปปฏิบัติงานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีให้คงเป็นสมาชิก กบข. ต่อไปได้ 
  • กรณีที่ 2 สมาชิก กบข. ซึ่งรับราชการอยู่ในมหาวิทยาลัยที่แปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและมีความประสงค์เป็นสมาชิก กบข. ต่อไป แม้มหาวิทยาลัยจะไม่เป็นส่วนราชการแล้วก็ตาม 


ู้มีสิทธิเป็นสมาชิก กบข.
ข้าราชการที่เข้ารับราชการตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 ทุกคนต้องเป็นสมาชิก กบข. แต่ข้าราชการที่รับราชการอยู่ก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 มีสิทธิเลือกว่าจะเป็นสมาชิกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ 

ทั้งนี้ เมื่อปี 2549 ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติ กบข. เพื่อรองรับสิทธิของผู้ที่เป็นสมาชิก คือ ให้สิทธิสมาชิก กบข. ที่โอนย้ายไปปฏิบัติงานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีให้คงเป็นสมาชิก กบข. ต่อไปได้ และอีกกลุ่ม คือ สมาชิกซึ่งรับราชการอยู่ ในมหาวิทยาลัยที่แปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และมีความประสงค์เป็นสมาชิก กบข. ต่อไป แม้มหาวิทยาลัยจะไม่เป็นส่วนราชการแล้วก็ตาม 


ทางเลือกในการบริหารเงินออม (ออมเพิ่ม)

การออมเพิ่ม เป็นการให้สิทธิแก่สมาชิก กบข. ในการเลือกส่งเงินสะสมเพิ่มได้ โดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 มาตรา 39 กำหนดไว้ว่าสมาชิกผู้ใดที่จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราร้อยละ 3 ที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ กบข. กำหนดแต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้รวมกันแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือนสมาชิกผู้นั้น 


ออมเงินกับ กบข.
สมาชิก กบข. ทุกคน จะมีเงินออมในบัญชีของสมาชิก เริ่มตั้งแต่เป็นสมาชิกจนถึงปัจจุบันโดยเงินออมที่สมาชิกมีใน กบข. แบ่งได้ ดังนี้ 

  1. ส่วนที่รัฐเป็นผู้นำส่ง
    • เงินประเดิม
    • เงินชดเชย
    • เงินสมทบ

 

  1. ส่วนที่สมาชิกเป็นผู้นำส่ง
    • เงินสะสม
    • เงินสะสมส่วนเพิ่ม (ออมเพิ่ม) 

 

ติดต่อสอบถาม

กลุ่มภารกิจสิทธิประโยชน์ ฝ่ายสิทธิประโยชน์และการดูแลทรัพยากรมนุษย์ 

เบอร์โทร : 02-218-0183 

อีเมล : yupa.w@chula.ac.th 

สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

สถานที่ทำการชั่วคราว

  • ชั้นลอย M2 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10)
  • ห้องประชุม 204 ชั้น 2 อาคารจามจุรี 3


โทร : 02-218-0151
อีเมล์ : hr@chula.ac.th
เว็บไซต์ : https://www.hrm.chula.ac.th

Copyright © 2025 Office of Human Resources Management, Chulalongkorn University. All Rights Reserved.

CU Chat
PDPA Icon
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save