EN TH
EN TH
Edit Template

Due to Other Reasons

พนักงานมหาวิทยาลัย

พนักงานมหาวิทยาลัย จะพ้นสภาพการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยด้วยสาเหตุอื่น ดังนี้  

  1. ตาย
  2. ระยะเวลาตามสัญญาปฏิบัติงานสิ้นสุดลง
  3. ไม่ผ่านการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงาน
  4. ถูกเลิกสัญญาปฏิบัติงาน
  5. ถูกลงโทษทางวินัยด้วยการให้ออกหรือไล่ออก

กรณีพนักงานมหาวิทยาลัยถูกเลิกสัญญาปฏิบัติงาน

  1. ลาป่วยเกิน 60 วันทำการ
  2. ระหว่างทดลองปฏิบัติงาน ไม่ผ่านการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงาน
  3. ผลการประเมินการปฏิบัติงานประจำปี อยู่ในระดับต่ำ
  4. ผลการประเมินการปฏิบัติงานประจำปี อยู่ในระดับต้องปรับปรุงเป็นเวลาสองปีติดติอกัน
  5. ผลการประเมินปฏิบัติงานประจำปี อยู่ในระดับปานกลาง หรือต่ำกว่าเป็นเวลาสามปีติดต่อกัน

ค่าชดเชย 

พนักงานมหาวิทยาลัยผู้ใดพ้นสภาพการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยเพราะเหตุอื่น ที่มิใช่เพราะลาออก ให้พนักงานมหาวิทยาลัยผู้นั้นได้รับความชดเชยตามอัตรา ดังต่อไปนี้

ระยะเวลาปฏิบัติงาน 

ค่าชดเชย / เท่ากับวัน 

  1. ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี 

30  วัน 

  1. ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี 

90   วัน 

  1. ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี 

180  วัน 

  1. ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี 

240  วัน 

  1. ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี 

300  วัน 

  1. ปฏิบัติงานติดต่อกันครบ 20 ปี ขึ้นไป 

400  วัน 

เหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย 

มหาวิทยาลัยไม่ต้องจ่ายชดเชยให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยซึ่งถูกเลิกสัญญาปฏิบัติงานในกรณีดังต่อไปนี้ 

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่มหาวิทยาลัย 

(2) จงใจทำให้มหาวิทยาลัยได้รับความเสียหาย 

(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และผู้บังคับบัญชาได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาไม่จำเป็นต้องตักเตือน ทั้งนี้ หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้กระทำผิด 

(5) ละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่สามวันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร 

(6) ได้รับโทษจําคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ 

พนักงานวิสามัญ

กรณีสิ้นสุดสัญญา

ผู้ดำเนินการ 

รายละเอียด 

เจ้าหน้าที่ HR ส่วนงาน/หน่วยงาน 

  • ตรวจสอบรายชื่อพนักงานวิสามัญที่ปฏิบัติงานครบระยะเวลาสัญญา 
  • หากส่วนงาน/หน่วยงาน ไม่ประสงค์ต่อสัญญา แจ้งพนักงานวิสามัญรับทราบ 
  • นำแบบฟอร์ม พม.15 ให้พนักงานวิสามัญกรอกข้อมูล 
  • จัดทำบันทึกแจ้งสิ้นสุดสัญญาจ้างส่งมายัง ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ 

HRBP 

  • บันทึกข้อมูลสิ้นสุดสัญญาจ้างในระบบ SAP 
  • ออกประกาสพ้นสภาพการเป็นพนักงานวิสามัญ 
  • ส่งประกาสพ้นสภาพการเป็นพนักงานวิสามัญ HR ส่วนงาน/หน่วยงาน 

กรณีสิ้นสุดสัญญาและได้รับค่าชดเชย

ผู้ดำเนินการ 

รายละเอียด 

เจ้าหน้าที่ HR ส่วนงาน/หน่วยงาน 

  • พนักงานวิสามัญที่มีระยะเวลาสัญญาปฏิบัติงาน 2 ฉบับขึ้นไป เมื่อสิ้นสุดสัญญาจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย 
  • หากส่วนงาน/หน่วยงาน ไม่ประสงค์ต่อสัญญา แจ้งพนักงานวิสามัญรับทราบ 
  • ตรวจสอบระยะเวลาสัญญาปฏิบัติงานต้องถือสัญญา 2 ฉบับ ขึ้นไป 
  • นำแบบฟอร์ม พม.15 ให้พนักงานวิสามัญกรอกข้อมูล 
  • จัดทำบันทึกแจ้งสิ้นสุดสัญญาจ้างส่ง และคำนวนเงินค่าชดเชยมายัง ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ 

HRBP 

  • บันทึกข้อมูลสิ้นสุดสัญญาจ้างในระบบ SAP 
  • ออกคำสั่งสิ้นสุดสัญญาจ้าง จ่ายค่าชดเชย 
  • ส่งเรื่องขอเบิกจ่ายค่าชดเชยไปยัง CU Payroll  
  • ส่งคำสั่งสิ้นสุดสัญญาจ้างพนักงานวิสามัญให้ HR ส่วนงาน/หน่วยงาน 

ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ บันทึกข้อความที่เกี่ยวข้อง

แบบฟอร์ม

ติดต่อสอบถาม

  • กลุ่มภารกิจที่ปรึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 1 และ 2
  • ฝ่ายบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

สถานที่ทำการชั่วคราว

  • ชั้นลอย M2 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10)
  • ห้องประชุม 204 ชั้น 2 อาคารจามจุรี 3


โทร : 02-218-0151
อีเมล์ : hr@chula.ac.th
เว็บไซต์ : https://www.hrm.chula.ac.th

Copyright © 2025 Office of Human Resources Management, Chulalongkorn University. All Rights Reserved.

CU Chat
PDPA Icon
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save